การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลแก่นิสิต ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูประถมศึกษา (Development of a Curriculum Promoting Media, Information and Digital Literacy for Undergraduate Students in Information Technology for Elementary Teacher Course)
คำสำคัญ:
การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล การพัฒนาหลักสูตรบทคัดย่อ
เมื่อเทคโนโลยีทำให้ผู้รับสารเข้าถึงสื่อและสารสนได้ง่ายขึ้นและทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้นำเสนอสื่อและสารสนเทศได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการเข้าถึงบริการต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนของประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเตรียมเด็กและเยาวชนให้พร้อมกับการดำเนินชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) แก่นิสิตในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูประถมศึกษา โดยมีนิสิตที่ลงทะเบียนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง และมีเครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นฯ แบบทดสอบ MIDL และแบบประเมินพฤติกรรม MIDL ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ที่มาของหลักสูตร ผลลัพธ์ของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร สื่อการเรียนรู้และการวัดประเมินผล 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ MIDL สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำนวนผู้เรียนที่มีพฤติกรรม MIDL ในระดับสูงเพิ่มจากก่อนเรียนร้อยละ 43.33
References
ครุสภา สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2560). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2561. จาก https://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=136&did=1193.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติมา สัจจานันท์. (2544). “การรู้สารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา คนไทยและสังคมไทย.” วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช 14 (กันยายน – ธันวาคม): 50-64.
นภาภรณ์ เพียงดวงใจ และมาเรียม นิลพันธุ์ (2560). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 9(2): 190-204.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และวัชรา เล่าเรียนดี. (2554). “การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู.” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 3(1,2): 109-121.
ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2559). รู้เท่าทันสื่อคือภารกิจพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: เอสพริ้น (2004) จำกัด.
พรรณพิมล วิปุลากร. (2554). ทำไมเด็กจึงจำเป็นต้องรู้ทันสื่อ: รู้ทันสื่อ. กรุงเทพมหานคร: ออฟเซ็ท ครีเอชั่นจำกัด.
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2559). การรู้เท่าทันสื่อฯ คืออะไร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2560. จาก https://cclickthailand.com
สิริภิญญณ์ อินทรประเสริฐ. (2556). รายงานวิจัย เรื่อง อิทธิพลของสื่อที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวขนในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุมาลี เชื้อชัย (2559). การเปรียบเทียบการสอนแบบสืบสอบ (5E) กับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพิมล หงส์เหม. (2557). “การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้.” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 6(1): 91-103.
David Bawden. (2008). Digital Literacy. [Online]. Retrieved 13 July 2012. Available from: https://www.scitopics.com/Digital_Literacy.html
James Potter. (2011). Media Literacy. Califormia: SAGE Publications. Inc.
Joshph Turow. (2010). Media today: An introduction to mass communication. New York: Taylor&Francis.
Michael Eisenberg. (2004). Information Literacy : Essential Skill for the Information age. USA: Greenwood Publishing Group,Inc.
Yoram Esher-Alkali and Yair Amicicai Hamburger. (2004) Experiments in Digital Literacy. CYBERPSYCHOLOGY & BEHAVIOR. 7 (November 2004): 52-58