การพัฒนากระบวนการถอดความรู้ด้านการปลูกส้มโอสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม (The Development of Capture Knowledge process of Pomelo Plantation for Pomelo Farmers in Area of Nakhon Pathom Province)

ผู้แต่ง

  • นภาภรณ์ ยอดสิน (Napaporn Yodsin) Nakhon Pathom Rajabhat University
  • วรรณี สุจจิตร์จูล (Wannee sudjitjoon) Nakhon Pathom Rajabhat University
  • พนม จองเฉลิมชัย (Panom Jongchaloemchai) Nakhon Pathom Rajabhat University
  • นลินทิพย์ คชพงษ์ (Nalinthip Khodchapong) Nakhon Pathom Rajabhat University
  • เทพยพงษ์ เศษคึมบง (Thepphayaphong Setkhumbong) Nakhon Pathom Rajabhat University

คำสำคัญ:

การถอดความรู้, การปลูกส้มโอ, เกษตรกรชาวสวนส้มโอ, capture knowledge, pomelo plantation, pomelo farmers

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการถอดความรู้ด้านการปลูกส้มโอสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรที่มีอาชีพทำสวนส้มโอที่อยู่ในเขตจังหวัดนครปฐมจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่าง            แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบประเมินผลการถอดความรู้ของเกษตรกรชาวสวนส้มโอ จังหวัดนครปฐม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการถอดความรู้ด้านการปลูกส้มโอสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม มีองค์ประกอบ 7 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านที่ 1 ประเด็นที่ต้องการถอดความรู้ ด้านที่ 2 เป้าหมายของการใช้ความรู้ ด้านที่ 3บุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ ด้านที่ 4 กิจกรรมที่ดำเนินการ ด้านที่ 5 ชุดคำถาม  ด้านที่ 6 ความสัมพันธ์ของกลุ่มคน และ ด้านที่ 7 สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศรอบข้างเอื้อต่อการเรียนรู้ สำหรับขั้นตอนการถอดความรู้ มี 4 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ ขั้นที่2ขั้นดำเนินการถอดความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นเขียนรายงานการถอดความรู้ ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผลและการติดตามการนำบทเรียนไปใช้ประโยชน์   2) ผลการถอดความรู้ของเกษตรกรชาวสวนส้มโอ จังหวัดนครปฐม พบว่า ผลการถอดความรู้ของเกษตรกรชาวสวนส้มโอ จังหวัดนครปฐม ของเกษตรกรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47

 

 

 

 

 

References

นันท์ปพร สิทธิยา. (2551). การศึกษากระบวนการจัดการความรู้โดยชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภาวรรณ เจริญลักษณ์. (2558). การศึกษาภูมิปัญญาและการอนุรักษ์ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวสวนส้มโอลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญส่ง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พงษ์นาถ นาถวรานันต์. (2553). โครงการการพัฒนาการเชื่อมโยงองค์ความรู้การผลิตส้มโอสู่ เกษตรกร จังหวัดนครปฐม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, นครปฐม : สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.).
พิชามญช์ คุ้มสุข. (2555). การวิเคราะห์บทบาทของเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชนในการส่งเสริม กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ของครูภูมิปัญญาไทย. หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย.
เพ็ญศิริ พันพา. (2552). “การจัดการความรู้ของท้องถิ่น การเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาการจัดการความรู้ด้านเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน.” วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 16(2), 10 หน้า, 24-33.
ภูริตา เกิดปรางค์ และสวรรยา ธรรมอภิพล. (2560). “การปรับตัวเชิงรุกของเกษตรกรสวนส้มโอ จังหวัดนครปฐม.” วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 4(2), 22 หน้า, 21-43.
วรรณี สุจจิตร์จูล และพนม จองเฉลิมชัย. (2560). “การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องส้มโอ.” Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 14 หน้า, 896-909.
วันทนา เมืองจันทร์. (2549). การจัดการเรียนรู้ในสถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากร ทางการ ศึกษา. [online]. Available: https://www.nidterp.go.th/km/data/v2.doc.
วัลลภา เล็กวัฒนานนท์. (2554). การพัฒนารูปแบบกระบวนการถ่ายทอดอง๕ความรู้เพื่อส่งเสริม การพึ่งพาตนเองอย่างพอเพียงและยั่งยืนสำหรับครูภูมิปัญญาไทย. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเศษฐ์ ฤทธิบุณไชย และคณะ. (2559). “รูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับส้มโอ จังหวัดนครปฐม.” วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 3(2), 12 หน้า, 90-101.
Reber, A.S. (1969). “Transfer of syntactic structure in synthetic languages.” Journal of Experimental Psychology. 81, 115-119.

เผยแพร่แล้ว

2019-02-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย