ความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (Staff’s Satisfaction and Employee Engagement: Case of Dhanarak Asset Development Company Limited (DAD))

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย เหมือนโพธิ์ (Suppachai Murnpho)
  • นนทวัฒน์ สุขผล (Nonthavat Sukphon) บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด กระทรวงการคลัง
  • ทาริกา สระทองคำ (Tarika Srathongkham) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ความผูกพันของพนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ธนารักษ์ พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ได้แก่ ปัจจัยลักษณะงาน ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน 2) พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล จำกัด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง พนักงานระดับปฏิบัติการ 1 - 4 และลูกจ้าง ของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัดแตกต่างกันด้านบรรทัดฐาน ปัจจัยลักษณะงาน ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด 2) ผู้บริหารระดับสูง และระดับกลางมีความพึงพอใจกับองค์กรเป็นอย่างมาก มองถึงการพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารในระดับต่อไป พนักงานและลูกจ้างมีความภูมิใจในสถานะอาชีพกับการเข้ามาเป็นพนักงานในองค์กร เกิดความรู้สึกมั่นคงในการทำงาน รู้สึกได้รับความยุธรรม ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบภายในแผนก ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นสิ่งที่พนักงานระดับปฏิบัติการให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นช่วงอายุใน Gen X ค่อนข้างมากเป็นวัยที่กำลังสร้างตัว และต้องการความมั่นคงและความก้าวหน้า และสร้างคุณชีวิตที่ดีในอนาคต

 

เผยแพร่แล้ว

2019-02-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย