การศึกษารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม ต่อโครงสร้างการดำเนินงานส่วนภูมิภาค กรณีศึกษา สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย (The Study of The Appropriate Operating Model for The Structure of Regional Operations. Case Study: Association for the Mentally Ill of Thailand)
คำสำคัญ:
รูปแบบการดำเนินงาน, ทีมพี่เลี้ยง, โครงสร้างการดำเนินงานส่วนภูมิภาคบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศึกษารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม ต่อโครงสร้างการดำเนินงานส่วนภูมิภาค ของสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานการบริหารจัดการองค์กร ให้สอดรับกับภารกิจสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) วางแผน ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และข้อเสนอแนะ นำมาซึ่งรูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อให้กระจายอำนาจ และรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อโครงสร้างการดำเนินงานส่วนภูมิภาค ของสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย
ผลการวิจัยพบว่า สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย มีโครงสร้างการบริหารจัดการส่วนภูมิภาค แต่ยังไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ชัดเจน บุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน จึงจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานประจำภาค สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย (ทีมพี่เลี้ยง) มีโครงสร้าง บทบาทหน้าที่และสมรรถนะที่ชัดเจน จะดำเนินกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ แนะนำการปฏิบัติงานให้กับบุคลากรประจำภาค เพื่อให้บุคลากรพัฒนาประสิทธิภาพของตนเอง เกิดการเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้การบริหารจัดการส่วนภูมิภาค มีความเข้มแข็ง และช่วยเหลือคนพิการ สามารถผลักดันและสนับสนุนให้คนพิการสามารถเป็นทรัพยากรที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมพัฒนาประเทศชาติต่อไป