ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผลการประเมินเชิงพื้นที่ (Area-Based Assessment) (Factors Affecting the Quality of Education Basic Education Area-Based Assessment)

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ ตู้จินดา (Oraphan Toujinda)
  • ดวงใจ ชนะสิทธิ์ (Duangjai Chanasid)

คำสำคัญ:

คุณภาพการศึกษา/ การประเมินเชิงพื้นที่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับคุณภาพการศึกษา   2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 397 แห่ง ใช้การสุ่มแบบแบ่งประเภทตามสัดส่วน กระจายตามภูมิภาคและจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผู้บริหารสถานศึกษาเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษามากที่สุด   2) ปัจจัยด้านผู้บริหาร ครูผู้สอน ชุมชนและเครือข่ายนักเรียน ผู้ปกครองและความรู้การปฏิรูปการศึกษา  เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 70.20

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2546). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในระบบ
การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและประกันคุณภาพ
การศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขา
อุดมศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐาปณี พวงงาม. (2560). “องค์ประกอบการปฏิบัติที่เป็นเลิศที่ส่งผลต่อคุณภาพโรงเรียน
ประถมศึกษายอดเยี่ยม สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน”.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย
9(2): 271-288.
ดวงใจ ชนะสิทธิ์ และคณะ. (2557). การติดตามการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกเชิงพื้นที่ไปใช้ในการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษา. เอกสารอัดสำเนา.
ดำรงค์ ชลสุข. (2559). ขับเคลื่อนการศึกษาอย่างไร จึงถูกใจประชาชน. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2559
จาก https://www.admissionpremium.com/news/829
นรินทร์ สังข์รักษา. (2559). “เรื่องเล่าจากการวิจัย: ชุดโครงการ การยกระดับคุณภาพการศึกษาและ
สร้างสรรค์การเรียนรู้ในภูมิภาคตะวันตก”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 8 (2): 9-27.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร:
สุวีริยาสาสน์.
สุระพงศ์ ทองพันชั่ง. (2545). การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สนธิ สถาพร. (2559). “การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9”.วารสาร
ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 8 (2): 362 - 377.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2557). รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
ประเมินคุณภาพเชิงพื้นที่ประจำปีงบประมาณ 2556 จำนวน 20 จังหวัด. รายงานวิจัยฉบับ
สมบูรณ์สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เอกสารอัดสำเนา.
Suryadi. (1992).Comparative advantage on rice production and marketing system in
Indonesia Bangkok: Kasetsart University.

เผยแพร่แล้ว

2019-02-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย