การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้สำหรับครูภาษาไทยระดับประถมศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (The Development of a Training Curriculum to Enhance the Learning Management of Primary Thai Language Teachers to Increase Academic Achievement in Thai Reading and Writing by Using Brain-Based-Learning and Professional Learning Community)

ผู้แต่ง

  • ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล (Natthakit Siriwatthanathakun) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม/การอ่านและเขียน/การใช้สมองเป็นฐาน/กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่  1) ครูผู้สอนภาษาไทย จำนวน 6 คน และนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและเขียนภาษาไทย ระดับประถมศึกษาปีที่ 2-4  โรงเรียนเทศบาลวัดไทรอารีรักษ์ (มณีวิทยา) จังหวัดราชบุรี ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน  โดยการเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรม 2) แบบทดสอบ 3) แบบประเมินความสามารถ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้                ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และการทดสอบค่าที (แบบ t- Independent)   ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและหาความต้องการจำเป็น พบว่าผู้บริหารและครูต่างต้องการให้มีหลักสูตรอบรมในเรื่องการอ่านและเขียน โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อที่ครูจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนอ่านและเขียนภาษาไทย ได้นำแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้  ในการเรียนการสอน  2) ผลการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พบว่าหลักสูตรฝึกอบรมฉบับร่างมีความสอดคล้องในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (= 4.60,S.D. = 0.43) และมีความเหมาะสม                   ในภาพรวม ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (= 4.65,S.D. = 0.47)  3) ผลการนำหลักสูตรไปทดลองใช้พบว่า                ก่อนอบรมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (= 16.50,S.D. = 0.55) หลังอบรมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (= 25.17,S.D. = 0.75) ความสามารถการจัดการเรียนรู้ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (= 4.67,S.D. = 0.42) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน                       อย่างมีนัยสำคัญ .05  4)  ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมครูเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับกับความต้องการของครู และนำไปใช้พัฒนาการอ่านและเขียนภาษาไทยของผู้เรียนได้      

 

 

References

Kueppanitchakun Krongtep. (1999). The use of Thai language. Bangkok: Odeon Store.
กรองเทพ เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
Kunchumnan Jaree. (2016). “Development of Learning Management Model by Brain-
Based Learning: BBL for Develop reading for understanding Thai language For students in Prathom Suksa 3”. Academic Journal of Mahamakut Buddhist University Roi Et Campus. Vol.5 No.2:228-229.
จารีย์ ขุนสำราญ (2559). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based
Learning: BBL) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3”. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.5(2) :228-229.
Buasomboon Busaba,Chanchusakun Saranya,Varasunun Pinda and Nata Natthakit.
“The Synthesis of Teaching Innovations Thai Language Reading and Writing skill of Elementary Teachers”. Silpakorn Education Research Jounal.vol.10 No.1 (January-Jane 2018.)
บุษบา บัวสมบูรณ์ สรัญญา จันทร์ชูสกุล พินดา วราสุนันท์ และณัฐกิตติ์ นาทา.(2561). “การสำรวจ
นวัตกรรมการสอนอ่านและเขียนภาษาไทยของครูในระดับประถมศึกษา”.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 10 (1) :28-43.
Thongsoon Peerapun. (2014). The teacher development of cultural tourism
knowledge management program on local wisdom of lower Esan. A Thesis for the Degree Doctor of Philosophy Program in Curriculum and Instruction Department of Curriculum and Instruction Graduate School, Silpakorn University
พีระพรรณ ทองศูนย์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
Thongkorn Putthachat. (2008). “An innovation that solves problems of teaching and
learning Thai”. Academic Journal,11(2):81-86
พุทธชาต ทองกร. (2551). “นวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาไทย”.
วารสารวิชาการ, 11(2): 81-86.
Poosara Rugee. (2002). The development of curriculum : According to the reform
of education. Bangkok: Bookpoint.
รุจิร์ ภู่สาระ. (2545). การพัฒนาหลักสูตร: ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
Autthanun Sangat.(1989).Fundamentals and principles of curriculum development.
3rd edition. Bangkok: Department of Educational Administration Faculty of
Education, Chulalongkorn University
สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:
ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Mahawang Somwang. (2011). The development of a training curriculum to enhance
the teacher of Integration of local wisdom in Basic School Curriculum.
A Thesis for the Degree Doctor of Education Program in Management and
Development Graduate School Maha Sarakham University.
สมหวัง มหาวัง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการ
บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษา
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
Poojarathapun Sunee. (2011). The use of Thai for communication. Bangkok:Tripping
Education.
สุนีติ์ ภู่จิรฐาพันธุ์. (2554). การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น
Waiboonya Sutmon. (2014). The development of curriculum to enhance teacher's
profession al experience to increase communication skills for preschool
children. A Thesis for the Degree Doctor of Philosophy Program in Curriculum and Instruction Department of Curriculum and Instruction Graduate School, Silpakorn University
สุมน ไวยบุญญา. (2557). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ของนักศึกษาครูที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
Office of the Basic Education Commission.(2017). Teaching guide of reading and
writing by “Jak-luk-sa-kot-kum”.Bangkok : The Agucultural Co-operative Federation of Thailand Printing.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูก
สะกดคำ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Ruksutee Sumree. (2011). Innovative media and plan Innovative media. Nonthaburi :
Poemsup printing.
สำลี รักสุทธี. (2550). การจัดทำสื่อนวัตกรรมและแผนประกอบสื่อนวัตกรรม. นนทบุรี : เพิ่มทรัพย์
การพิมพ์.
Yothasing ,Arunrung and Gumjudpai Sumran. (2017). “Development of a Training
Curriculum Based n the Concept of Blended Learning for Enhancing Primary School Teacher’s Competency of Student-Centered Assessment”. Silpakorn Education Research Jounal.vol.8 No.2 (July-December 2017.)
อรุณรุ่ง โยธสิงห์ และสำราญ กำจัดภัย (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบ
ผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอน
ระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8 (2) : 270-283.
ภาษาต่างประเทศ
Joyce, B, & Weil, M. and Showers, B. (1993). Model of teaching. 4 th ed. Boston : Allyn
and Bacon : A Divison of Simon & Schuster, Inc.
Oliva, P.F. (1992). Developing the Curriculum. 3rd ed. New York: HarperCollins.
Taba, H. (1962). Curriculum Planning: Theory and Practice. New York: Harcourt,
Brace & World.
Tyler, Ralph W. (2003). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago:
The University of Chicago Press.
Saylor, J. Galen, and William M. Alexander, and Arthur J. Lewis. (1981). Curriculum
Planning for Better Teaching and Learning. New York: Holt, Rinehart
and Winston

เผยแพร่แล้ว

2019-02-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย