ผลการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ ที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (Effects of Literature Instruction Using Gibbs’ Reflection Cycle on Self-Awareness of Upper Secondary School Students)
คำสำคัญ:
การเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรม, วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์, การตระหนักรู้ในตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมตามปกติ (2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 71 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ และแผนการจัดการเรียนการสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่านักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัด การเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05