ประสบการณ์ความเพลินในการเรียนของกลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัย (Flow Experience in Learning Among Thai University)

ผู้แต่ง

  • สุพัทธ แสนแจ่มใส (Supat Sanjamsai) faculty of humanities

คำสำคัญ:

ประสบการณ์ความเพลิน, แรงจูงใจภายใน, การเรียนการสอน

บทคัดย่อ

รูปแบบการสอนมากมายถูกออกแบบและนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อหวังให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังพบได้ว่ามีผู้เรียนที่ขาดแรงจูงใจในการเรียน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย และองค์ประกอบของประสบการณ์ความเพลินในการเรียน โดยศึกษาผ่านแนวคิดทฤษฎีความเพลิน (Flow theory) กับกลุ่มตัวอย่างนิสิต 450 คน โดยแบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ระยะคือ 1) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อหาความหมาย และพัฒนาแบบวัด 2) การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อค้นหาองค์ประกอบ โดยแบบวัดประสบการณ์ความเพลินจำนวน 45 ข้อ ผลการศึกษาพบว่าประสบการณ์ความเพลินในการเรียนมีความหมายสะท้อนให้เห็นถึงแรงจูงใจภายในของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอน ส่วนองค์ประกอบของประสบการณ์ความเพลินในการเรียน คือ การที่ผู้เรียนมีความสามารถสอดคล้องกับเนื้อหา การมีเป้าหมาย การได้รับผลตอบสนองทางบวก ความรู้สึกร่วมกับเนื้อหา สมาธิจดจ่อ ความสบายใจ การไม่ได้นึกถึงเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง การรับรู้เวลาที่บิดเบือน และความรู้สึกอยากกลับมาเรียนซ้ำ อย่างไรก็ดีปัจจัยตามสถานการณ์มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจของผู้เรียนร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้สอน และบรรยากาศในการเรียน ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรออกแบบ และส่งเสริมรูปแบบการเรียนที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ความเพลินให้แก่ผู้เรียนต่อไป

 

 

 

เผยแพร่แล้ว

2020-01-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย