องค์ประกอบแอปพลิเคชันสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิดเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา (Consisted of Open Smart Classroom Application to Enhance 21st Century Skills in Information Media and Technology Skills for Higher Education Learners)

ผู้แต่ง

  • เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม (Kemmanat Mingsiritham)
  • ประกอบ กรณีกิจ (Prakob Koraneekij)

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, ห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิด, การเรียนรู้แบบเปิด, ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบแอปพลิเคชันสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิดเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย  1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ความคิดเห็น เป็นผู้บริหารและอาจารย์ระดับอุดมศึกษา จำนวน 10 ท่าน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพและความต้องการใช้แอปพลิเคชันสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิดเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ด้านทักษะสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา เป็นนิสิต/นักศึกษาปริญญาบัณฑิต ปีการศึกษา 2558 จำนวน 600 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ  วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการศึกษาพบว่า

  1. สภาพที่เป็นอยู่ (What is) เกี่ยวกับสภาพและความต้องการใช้แอปพลิเคชันสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระหว่าง .52 ในส่วนของสภาพที่ควรจะเป็น (What should be) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระหว่าง .47 เมื่อพิจารณาถึงค่าดัชนี PNIModified เกี่ยวกับสภาพและความต้องการใช้แอปพลิเคชันสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิดในภาพรวม พบว่า มีค่าเท่ากับ .25 เมื่อนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า แอปพลิเคชันสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิดฯ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สารสนเทศและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล (2) เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีสนับสนุน (3) การออกแบบเนื้อหา (4) การออกแบบหน้าจอ (5) การแสดงผล (6) การออกแบบมัลติมีเดีย (7) การออกแบบส่วนต่อประสานและระบบนำทาง และ (8) การนำเสนอและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลองค์ประกอบแอปพลิเคชันสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิด พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ (=12.686, df=16, p=0.696) ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .990 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .976 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) มีเท่ากับ .004 แสดงว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
  2. แอปพลิเคชันสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะแบบเปิดเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีสำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ  ได้แก่ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีสนับสนุน  4) กิจกรรมการเรียนรู้  และ 5) การประเมินผล ขั้นตอนการเรียน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเสนอคำถามหรือปัญหา 2) การกำหนดขอบเขตข้อมูลเพื่อใช้ในการตอบคำถาม/ปัญหา 3) การเลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อค้นคว้าข้อมูล  4) การประเมินข้อมูลและแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ  5) การเชื่อมโยงสารสนเทศและสรุปผล และ 6) การนำเสนอผลงาน

References

กันต์กมล สองสี และนวพรรษ เพชรมณี. (2557).แหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาแบบเปิดและซอฟแวร์โอเพนซอร์สทางเลือกสำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์. หน้า 55-69.
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2556). Social Media สื่อสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. (ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2556): หน้า 72-81.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). “MOOCs PEDAGOGY: จาก OCW, OER สู่ MOOCs เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนยุคดิจิทัล.”เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceeding) ด้านอีเลิร์นนิง : Strengthening Learning Quality: Bridging Engineering and Education จัดโดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556. หน้า 276-285.
ธนิศ ภู่ศิริ. (2558). สื่อในระบบการศึกษาทางไกล. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการศึกษาทางไกล (ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 1) (หน่วยที่ 5, หน้า 20-28). นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ธัญญาพร เจียศิริพันธ์, ณัฐริกา ก้อนเงิน, สิรภัทร ชลศรานนท์ และ ณัชชา ปกิจเฟื่องฟู. (2556). การส่งเสริมทักษะการคิดด้วยโมบายแอพลิเคชัน: แนวทางและการนำไปใช้. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceeding) ด้านอีเลิร์นนิง : Strengthening Learning Quality: Bridging Engineering and Education จัดโดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาวันที่ 5-6 สิงหาคม 2556. หน้า 185-192.
น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2558). สภาพและความต้องการแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน “ด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์”. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. (ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2558): หน้า 124-140.

เผยแพร่แล้ว

2020-01-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย