รูปแบบคุณภาพชีวิตการทางานของพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร (A Quality of Work Life Model of Silpakorn University Employees)

ผู้แต่ง

  • นุชนรา รัตนศิระประภา (Nuchnara Rattanasiraprapha) ภาควิชาการบริหารการศึกษา คระศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นพดล เจนอักษร (Nopadol Chenaksara)

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, พนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) วิเคราะห์องค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร และ (2) นำเสนอรูปแบบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลในการวิจัยมี 4 ประเภท คือ (1) แบบวิเคราะห์เนื้อหา (2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (3) แบบสอบถามความคิดเห็น และ (4) แบบยืนยันรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม คือ (1) คณบดี/รองคณบดี/ผู้ช่วยคณบดี/ผู้ปฏิบัติหน้าที่บริหาร/เลขานุการคณะ จำนวนทั้งสิ้น 25 คน (2) พนักงานสายวิชาการและพนักงานสายสนับสนุน จำนวนทั้งสิ้น 461 คน และ (3) ตัวแทนสายวิชาการและสายสนับสนุนที่เป็นคณะกรรมการในสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวนทั้งสิ้น 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

       ผลการวิจัยพบว่า

  1. องค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร มี 7 องค์ประกอบ 68 ตัวแปรสังเกต คือ (1) การบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงาน 33 ตัวแปรสังเกต (2) ความผูกพันในงาน 14 ตัวแปรสังเกต (3) สภาพแวดล้อมในการทำงาน 5 ตัวแปรสังเกต (4) ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน 5 ตัวแปรสังเกต (5) ภาพลักษณ์องค์กร 3 ตัวแปรสังเกต (6) มนุษย์สัมพันธ์ 5 ตัวแปรสังเกต และ (7) การพัฒนาตนเอง 3 ตัวแปรสังเกต
  2. รูปแบบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างเจ็ดองค์ประกอบ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีและข้อค้นพบงานวิจัย คือ (1) ความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 91.42 (2) ความเป็นไปได้ คิดเป็นร้อยละ 98.08 (3) ความเป็นประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 100 และ (4) ความถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 100

References

-

เผยแพร่แล้ว

2020-01-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย