มาตรฐานการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประชาคมอาเซียน (Educational Administration Standards for Asian Schools)

ผู้แต่ง

  • วรกาญจน์ สุขสดเขียว (Vorakarn Suksodkiew)

คำสำคัญ:

มาตรฐานการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน/ ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบมาตรฐานการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในประชาคมอาเซียน เป็นการวิจัยเชิงอนาคตด้วยเทคนิค EDFR กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษารวม 10 ประเทศ จานวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) การสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประชาคมอาเซียน 2) แบบสอบถามปลายปิดสาหรับผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมตอบในรอบที่ 2 เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคอร์ท จานวน 25 ข้อกระทง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ค่าฐานนิยม มัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ามาตรฐานการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประชาคมอาเซียนมี ดังนี้ 1. ด้านการบริหารวิชาการ ภาครัฐในประชาคมอาเซียนควรจัดทาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะภาษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน พัฒนาสื่อการเรียนการสอน เรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมและประเพณี การศึกษาต่อ โอนหน่วยกิตและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างมิตรสัมพันธ์ที่ดี 2. ด้านการบริหารงบประมาณ ภาครัฐในประชาคมอาเซียนควรสนับสนุนงบประมาณ ทรัพยากรและสินทรัพย์ เพื่อการจัดการศึกษาโดยการกระจายอานาจการบริหารงบประมาณและเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน สถานประกอบการ หน่วยงานในท้องถิ่นสนับสนุนการจัดการศึกษา 3. ด้านการบริหารงานบุคลากร ภาครัฐในประชาคมอาเซียนควรจัดอบรมพัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรเพื่อแลกเปลี่ยนมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษหรือภาษา ในกลุ่มสมาชิกประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันและใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล สารสนเทศ ที่ทันสมัยเหมาะสม 4. ด้านการบริหารงานบริหารทั่วไป ภาครัฐในประชาคมอาเซียนควรปลูกฝังทัศนคติการเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมอาเซียน พัฒนาแหล่งเรียนรู้อาเซียนศึกษาในสถานศึกษา พัฒนาเทคโนโลยี ดิจิทัลให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 สถานศึกษามีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงาน มีระบบดูแลและปกป้องนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ให้พัฒนาเต็มศักยภาพ

เผยแพร่แล้ว

2020-01-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย