การเสริมสร้างศักยภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สำหรับสถานศึกษาที่หมดความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ (Enhancing Participative Potential in Educational Management for the Closed-Down Schools)

ผู้แต่ง

  • มาเรียม นิลพันธุ์ (Maream Nillapun)
  • สุวรรณ พิณตานนท์ (Suwan Pintanon)
  • อนัน ปั้นอินทร์ (Arnon Punain)
  • เอกชัย ภูมิระรื่น (Akkachai Poomraruen)

คำสำคัญ:

สถานศึกษาที่หมดความจำเป็นในการใช้ประโยชน์, ศักยภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขของการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของสถานศึกษาที่หมดความจาเป็นในการใช้ประโยชน์ และ2) จัดทาข้อเสนอแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ นักปราชญ์ นักคิด ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา กฎหมาย และการกระจายอานาจ และผู้เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบอภิปรายกลุ่มย่อย และ4) แบบระดมความคิดเห็น โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง เดือนมีนาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาคือ โรงเรียนที่ปิดการเรียนการสอนเป็นโรงเรียนประจาหมู่บ้าน มีนักเรียนจานวนน้อยกว่าเกณฑ์ที่สานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาหนด พื้นที่และอาคารของโรงเรียนชารุดทรุดโทรม แนวทางแก้ไขคือ เสริมสร้างศักยภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของประชาชน สังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยการกาหนดให้มีหน่วยงานผู้รับผิดชอบนโยบาย ให้อานาจในการตัดสินใจ และกาหนดวิธีการขั้นตอนในการปฏิบัติงานตามนโยบาย จัดตั้งโรงเรียนคุณภาพให้มีจานวนตามความเหมาะสม และให้ส่วนราชการใช้ประโยชน์ 2) ข้อเสนอแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คือ จัดตั้งกลุ่มโรงเรียนนิติบุคคล จัดตั้งโรงเรียนคุณภาพ ให้สานักทรัพย์สินดูแลผลประโยชน์ จัดให้มีโรงเรียนร่วมทุน และให้ส่วนราชการหรือเอกชนใช้ประโยชน์

เผยแพร่แล้ว

2020-01-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย