การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (The Development of the Economic Learning Activity Package Using Scenario-based Learning to Promote the Financial Literacy of Lower Secondary School Students)

ผู้แต่ง

  • กมลชนก สกนธวัฒน์ (Kamonchanok Sakondhawat) สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชาริณี ตรีวรัญญู (Charinee Triwaranyu) สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐาน, ความฉลาดรู้การเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษา ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมายวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเพิ่มเติม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความฉลาดรู้การเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฎว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์ เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 1 กิจกรรม มีหลักการสำคัญที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ผ่านการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติผ่านการใช้ทักษะทางการเงิน ที่หลากหลายในการตัดสินใจทางการเงินภายใต้ฉากทัศน์ในห้องเรียนที่ถูกออกแบบให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงโดยไม่ถูกตัดสินว่าถูกหรือผิด แต่นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตัดสินใจทางการเงินที่ผิดพลาด ในแต่ละกิจกรรมมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นรับประสบการณ์ (2) ขั้นแสดงบทบาทสมมติ (3) ขั้นเผชิญภาวะวิกฤต และ (4) ขั้นสะท้อนผล 2) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้การเงิน หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

1.Bank of Thailand. (2013, 2016 ). Thai Financial Skills Survey Report .Bangkok: Bank of Thailand.
(in Thai)
2.Chaiyong Brahmawong. (2013). Developmental Testing of Media and Instructional Package.
Silpakorn educational research journal, 5, 1-20 (in Thai)
3.Errington, E. P. (2011). Mission possible: Using near-world scenarios to prepare graduates for
the professions. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education, 23, 84-91.
4.Golden, P. (2018). Contextualized Writing: Promoting Audience-Centered Writing through
Scenario-Based Learning. International Journal for the Scholarship of Teaching and Learning, 12(1).
5.Hursen, C., & Fasli, F. G. (2017). Investigating the Efficiency of Scenario Based Learning and
Reflective Learning Approaches in Teacher Education. European Journal of
Contemporary Education(6), 264-279.
6.J. Mariappan et al. (2004). Scenario-based Learning Approach in Teaching Statics. American
Society for Engineering Education.
7.Leet, D. R., & Lopus, J. S. (2012). Tips for teaching the high school economics course. Social
Studies Research and Practice, 7(1), 9-18.
8.Marlowe, J. (2014). Governing Guide to Financial Literacy Conecting Money, Policy and
Priorities. USA: The Governing Institute.
9.OECD/INFE. (2015). CORE COMPETENCIES FRAMEWORK ON FINANCIAL LITERACY FOR YOUTH.
Securities, A., & Commission, I. Financial literacy in schools: Australian Securities and
Investments Commission.
10.P.Thongphuak & C. Triwaranyu. (2019). Effects of Economics Instruction by using Simulation
Games on Financial Literacy of Upper Secondary School Students. Silpakorn Educational Research Journal, 11(1), 348-365. (in Thai)
11.Sibley, J. (2010). Financial capability, financial competence and wellbeing in rural Fijian
households.
12.Som Naidu et al. (2007). How Scenario-Based Learning Can Engender Reflective Practice in
Distance Education. In Finding Your Online Voice Stories Told by Experienced Online Educators. (pp. 53-72). USA: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
13.Sorin, R. (2013). Exploring Partnerships in Early Childhood Teacher Education through
Scenario-Based Learning. World Journal of Education, 3(1), 39-45.
14.The National Reform Steering committee on economic of Thailand. (2016).Reform Basic financial
education system for people. Bangkok : the secretariat of the house of representatives.
(in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2020-10-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย