ผลของการใช้ชุดการสอนที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับเทคนิคการหาคำตอบ ของโจทย์ปัญหาแบบ RIDD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เสริม 6 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิเศษไชยชาญ “ตันติวิทยาภูมิ” จังหวัดอ่างทอง (The Result of Using the Supplementary Mathematics Instruction Packages by Discovery Learning and RIDD Problem Solving Technique on Learning Achievement of Mathayomsuksa VI Students at Wisedchaichan “Tantiwittayapoom” School in Angthong Province)
คำสำคัญ:
ชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์, การเรียนรู้แบบค้นพบ, เทคนิคการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาแบบ RIDDบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เสริม 6 ของนักเรียนหลังการเรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับเทคนิคการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาแบบ RIDD ด้วยชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เสริม 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อประเมินคุณภาพของสื่อชุดการสอนที่นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวิเศษไชยชาญ “ตันติวิทยาภูมิ” จำนวน 148 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 34 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เสริม 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้การเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับเทคนิคการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาแบบ RIDD ในการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพสื่อชุดการสอน สำหรับนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้และสำหรับครูที่ได้รับการเผยแพร่สื่อชุดการสอน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยชุดการสอนวิชาคณิตศาสตร์เสริม 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้การเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับเทคนิคการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาแบบ RIDD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของหน่วยการเรียนรู้ที่ 1, 2 และ 3 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินคุณภาพสื่อชุดการสอนของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยคุณภาพร้อยละ 86.38 และผลการประเมินคุณภาพสื่อชุดการสอนของครู มีค่าเฉลี่ยคุณภาพร้อยละ 89.13
References
Khaemanee, T. (2013). Teaching Strategy : Knowledge for Efficient Learning Process Management. 17th ed. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Kuanhawed, B. (1999). Innovation for Education. 4th ed. Bangkok: Educational Technology Department Srinakharinwirot University Bangkhen Campus. (in Thai)
Julrat, P. (2018, May–August). Learning Management, Students in the Thailand 4.0 Era. Veridian E-Journal. 11(2): 2375. [Online]. Retrieved August 12, 2018, from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/144570. (in Thai)
Taweegulsab, W. (2014). Unit 15 Evaluation and testing of teaching media efficiency : Instructional media in basic education. 4th ed. Bangkok: Sukhothai Thammathirat University Publishing. (in Thai)
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Evaluation and Assessment of Mathematics. Bangkok: Vee Print 1991. (in Thai)
Mulkam, S., Mulkum, Orathai. (2002). 20 Instructions. Bangkok: Pabpim. (in Thai)
Jackson, B.F. (2002, May). Crossing Content: A Strategy for Students with Learning Disabilities. Intervention in School and Clinic. 37(5): 279–282.
Roosuk, K. (2014). The Development of Mathematics Learning Packages Through the Inquiry Method on the Ratio of Trigonometry for Mathayomsuksa IV Students. Master of Science Thesis Program in Educational Mathematics Graduate School Ubon Ratchathani Rajabhat University. (in Thai)
Jinaya, T. (2014). A Development of Instructional Packages Based on Inductive and Deductive Method to Enhance Mathematics Reasoning Ability and Learning Achievement on the Topic of Similarity for Mathayomsuksa III Students. Master of Education Thesis Program in Curriculum and Teaching Graduate School Chulalongkorn University. (in Thai)