กระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์สำหรับนักศึกษาพยาบาล (The Paradigm of Contemplative Education Enhance Humanized Care of Nursing Student)

ผู้แต่ง

  • สุนิดา ชูแสง (Sunida Choosang)
  • มาเรียม นิลพันธุ์ (Maream Nillapun)

คำสำคัญ:

กระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษา, การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของกระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์สำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของกระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์สำหรับนักศึกษาพยาบาล และ 3) เพื่อขยายผลกระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์สำหรับนักศึกษาพยาบาล ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ชั้นปีที่ 3 จำนวน 16 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการบริการด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์ และแบบบันทึกการเล่าเรื่องราว ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-tests วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผล และปัจจัยสนับสนุน ประสิทธิผลของกระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการบริการ ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์หลังการใช้กระบวนทัศน์จิตตปัญญาศึกษาสูงกว่าก่อนใช้กระบวนทัศน์และพัฒนา การสูงขึ้น และนักศึกษากลุ่มขยายผลกระบวนทัศน์ทางจิตตปัญญาศึกษาหลังเรียนมีความสามารถในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์สูงกว่าก่อนเรียนและมีพัฒนาการสูงขึ้น

References

Chaleoykitti S., Naksrisang, W., Suapumee, N. and Plodpluang, U. (2016). The Development of Desirable Characteristics of Nursing Students Using Extra-Curriculum Activities Program Based on the Contemplative Education. Rama Nursing J. 22(2): 192-205. (in Thai).
Chiddee, K., Siriphan, S., Katenil, K., Tohpaeroh, M. and Kaleang, N. (2019). Learning Activities and Assessment Based on the Contemplative Education Philosophy. The Southern College NetworkJournal of Nursing and Public Health 6(3).145-157. (in Thai).
Chumpeeruang, S., Wattanator, A., Hingkanont, P.and Wareerat Keawurai, W. (2013). Development of Curriculum to Enhance Desirable Characteristics through Dialogue for Nursing Students, Journal of Education Naresuan University. 15(3), 9-15. (in Thai).
Hemingway et al. (2012). Humanising nursing care: a theoretical model. Nursing Times, 108 (40),26-27.
Heong, Y.M., & et al. (2012). The needs analysis of learning higher order thinking skills forhigher order thinking skills in undergraduate biology. Protoplasma, 249, 25-30.
James L. Levenson. (2005). Textbook of psychosomatic medicine. Viginia: American psychiatric publishing, Inc.
Joyce, B., Weil, M. and Calhoun, E. (2015). Model of Teaching. 9th ed. London: Allyn and Bacon.
Khemmone, T. Science of teaching: Knowledge for effective learning process. (2016). 12th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Publishers; 2008. (in Thai).
Kolb, D. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning process. City: Prentice Hall.
Koolnaphadol, T., Laokosin,N., Pimmas, S and Prabhakar, K. (2019). Humanized care behaviors of Graduated Nurses in Bachelor of Nursing Science Program, Boromarajonani College of Nursing, Changwat Nonthaburi. Mahasarakham Hospital Journal 16(1): 90-97.
Nilchaikovit. T. (2008). Transformative learning and contemplative education. Contemplative Education: Education for Human Development. 2nded. Nakhon Pathom: Mahidol University. (in Thai).
Poorananon, P. and Panidchakul, K. (2018). Self-Development for Evidenced-Based Human caring in nursing students. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok,34(2) 125-137.
Prasrertsong, C., Benjamin, A and Pattana Wanfun, P. (2017). The Study to Confirm and Develop the Measure of Nursing Practice by Heart for Nursing Students. Journal of The Royal Thai Army Nurses 17(3)132-140. (in Thai).
Rose, G. (2012). Visual methodologies: An introduction to the interpretation of visual materials. 3rd ed. London: Sage.
Sessums, C.D. (2007). Contemplative practice: Transforming the meaning of education. Repeatdacamber24,2008.form http://eduspaces.net/csessums/ wabiog/ 145790.html.
Sirisoparuk, S and Oumtanee, A. (2014). Experience of Being a Professional Nurse Providing Humanized Care for Patients. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 15(2): 189-297.
Soowit, B; Jeradechakul, P; Poolsuwan, S; & Thongprateap, T. (2013). Learning process for the holistic self-development of nursing students. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 29(2), 25-34. (in Thai).
Sosome,B., Wiwekwan, Y and Suwannaka, Y. (2017). The Humanized Health Care Model for Nursing Care Pregnancy Women: Knowledge from Nursing Students’ Experiences. Journal of MCU Peace Studies, 5(2), 245-258.
Wasi P. (2011). Education system to solve the misery of people in the land. 2nd ed. Nakhon Pathom: Contemplative Education Center Mahidol University. (in Thai)
Watson, J. (2012) Human Caring Science: A Theory of Nursing. Massachusetts : Malloy.

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย