พลังอำนาจเพื่อการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุ ชุมชนเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (Empowerment for The Self-reliance of The Elderly in Koh-kerd Community, Bang-pa-in District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province)

ผู้แต่ง

  • จริยาภรณ์ รุจิโมระ (Jariyaporn Rujimora)

คำสำคัญ:

เสริมสร้างพลังอำนาจ, การพึ่งตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ ปัจจัย รูปแบบพลังอำนาจและวิธีการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุชุมชนเกาะเกิด เป็นการวิจัยถอดบทเรียนแบบผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธี ได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อย การระดมสมอง การเสวนา กิจกรรมฐานเรียนรู้ การสัมภาษณ์เชิงลึก การทำแผนที่ความคิด การบันทึกวีดีโอ ภาพนิ่ง การจดบันทึกในขณะที่ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีกิจกรรมในรอบปฏิทินชุมชน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้สูงอายุและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่พึ่งตนเองได้ จำนวน 35 คน เป็นผู้ที่มีบทบาทขับเคลื่อนชุมชน ได้มาจากการเสนอชื่อโดยตัวแทนผู้สูงอายุ ในชุมชนเกาะเกิดทั้ง 7 หมู่บ้าน ผลการวิจัย พบว่าศักยภาพผู้สูงอายุได้นำวิถีชีวิตดั้งเดิมจากบรรพบุรุษ และศักยภาพชุมชนพัฒนาสู่เศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง รวมทั้งก่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิถีชุมชน ปัจจัยพบว่า มีปัจจัยภายนอกสนับสนุนปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ได้แก่ พื้นที่เชิงกายภาพ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ของชุมชน และชุมชนเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ ปัจจัยภายใน ได้แก่ การเห็นคุณค่าและความภูมิใจในตัวเอง มีภูมิปัญญาเฉพาะตน มีสุขภาพที่ดีและการมีรายได้จากน้ำพักน้ำแรงของผู้สูงอายุ รูปแบบ พบว่าการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ตลอดชีวิต สนุกกับอาชีพ การยอมรับจากสังคม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการเสริมสร้างพลังอำนาจ พบว่าการพัฒนาตัวเองในสามมิติ ได้แก่ ทางสุขภาวะ ทางความมั่นคง และทางการมีส่วนร่วมในสังคม

References

กระทรวงมหาดไทย, กรมการพัฒนาชุมชน. (๒๕๔๒). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแบบเศรษฐกิจ
พอเพียงเฉลิมพระเกียรติแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่งพาตนเอง พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๔.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บพิธการพิมพ์.

เจริญ เครือแวงมนต์. (๒๕๔๘).กระบวนการเรียนรู้ของครูภูมิปัญญาไทยเพื่อการจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการ
สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ในเขตการเคลื่อนไหวของโรงเรียน
ชุมชนอีสาน. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
จิรชาติ ชุมภู. (2550). การเสริมสร้างพลังอำนาจ ในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุสถานสงเคราะห์คนชรา
วัยทองนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชไมพร สืบสุโท, รัตนา สีดี และฐิฎิกานต์ สุริยะสาร. (๒๕๕๓). กลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อเพิ่มศักยภาพ
ด้านการแข่งขันกรณีศึกษากลุ่มอาชีพทอผ้าลายสายฝน ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอ แม่ทะ จังหวัดลำปาง
(ชุดโครงการ).มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สถาบันวิจัยและพัฒนา.
นันทนิษฎ์ สมคิด, พระสุธีรัตนบัณฑิต. (๒๕๖๒). แนวทางการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่จังหวัด
จันทบุรี. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (๒๕๓๖). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
พีรเทพ รุ่งคุณากร. (๒๕๕๘). “การเรียนรู้ของผู้ใหญ่” เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักและปรัชญาการศึกษา
ตลอดชีวิต (เอกสารอัดสำเนา), นครปฐม : ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
--------. (2560). แนวทางการจัดการศึกษาผู้ใหญ่โดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ
สุขภาวะ และความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. (เอกสารอัดสำเนา) นครปฐม: ภาควิชา
การศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
มิ่งขวัญ คงเจริญ และอาชัญญา รัตนอุบล. (๒๕๕๔). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชน
เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้.SDU Res. J. ๗(๒) : May–Aug ๒๐๑๑.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น, ผศ.ดร. (๒๕๕๗). “ผู้สูงอายุอนาคตที่ทุกคนต้องเป็น” ๑๔ เมษายน ๒๕๕๗
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์.
สถิติแห่งชาติ, สำนักงาน. (๒๕๕๗). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๗. กลุ่มสถิติ
ประชากร สำนักสถิติสังคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล
พับลิเคชั่นจำกัด : กรุงเทพฯ.
ส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ, สำนัก. (2554). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2552.สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (๒๕๔๒). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ. กรุงเทพฯ:
กรมพัฒนาชุมชน.
อำภา จันทรากาศ. (๒๕๔๓). ทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Gibson, C. H. (๑๙๙๓). A Study of Empowerment in the mothers of chronically children.
Unpublished doctoral dissertation. Boston : Boston College

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย