การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (The Development of Students’ Achievement in Educational Research Subject through Blended Learning Management)

ผู้แต่ง

  • เมษา นวลศรี (Mesa Nuansri) faculty of education, valaya alongkorn rajabhat university

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, การจัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิม, การวิจัยทางการศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษาระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษาระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการจัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิม และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จำนวน 52 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิม 3) แบบทดสอบเกี่ยวกับ การวิจัยทางการศึกษา มีลักษณะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ t-test for dependent samples และ t-test for Independent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) โดยภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.33, S.D. = 0.50)

References

Anukulvej, A. (2012). Blended learning. [Online]. Retrieved August 15, 2020, from http://www.chontech.ac.th. (in Thai)

Bonk, C. J., & Graham, C. R. (2004). Handbook of blended learning: Global perspectives. San Francisco: Pfeiffer Publishing.

Best, J. W. (1981). Research in Education. 4 th ed. New Jersey: Prentice – Hall Inc.,

Carman, J. M. (2005). Blended Learning Design: Five Key Ingredients. [Online]. Retrieved September 2, 2020, from

www.agilantlearning.com/pdf/Blended Learning Design.pdf.

Dowling, C., Godfrey, J. M., and Gyles, N. (2003). “Do hybrid flexible delivery teaching methods improve accounting students’ learning outcomes?”. Accounting Education 12(4): 373-391.

Kachapai, M., Onming, R., Pradubwate, R. and other. (2015). The Development of A Blended Instructional Model to Enhancing Knowledge and Competencies on Educational Innovation and Information Technology for Bachelor of Education Students Srinakharinwirot University. The 15th National and International Academic Seminars Graduate Network : Northern Rajabhat University Proceeding: 1081-1093. (in Thai)

Meesuwan, W. (2008). Development of a wireless learning model on a personal digital assistant. Doctor of Education. Thesis Department of Educational Technology, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Oliver, M., and Trigwell, K. (2005). “Can Blended Learning be Redeemed?”. e-Learning 2(1):

Pahe, S. (2012). Blended Learning. [Online]. Retrieved August 15, 2020, from https://penpakchauypan.files.wordpress.com/2015/05/blended-learning.pdf. (in Thai)

Panich, V. (2012). A way to create learning for students in the 21st century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation. (in Thai)

Rittikhan, L. and Sangsawang, J. (2018). Development of a blended learning model to promote learning linkages for undergraduate students. the 2nd national and international conference proceeding: 793 - 800. (in Thai)

Ruckbumrung, T. (2012). “Blended Learning”. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University 9(1): 31-40. (in Thai)

Sankas, S., Woraratpanya, K., Krootjohn, S.(2011). A Development of Content and Activity Blended Learning Model on Computer Programming. Journal of Library and Information Science Srinakharinwirot University 4(2). 80-94. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย