การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (An Evaluation of Doctoral of Philosophy Program in Educational Technology Faculty of Education, Silpakorn University)

ผู้แต่ง

  • น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ (Nammon Ruangrit)
  • ฐาปนีย์ ธรรมเมธา (Thapanee Thammetar)
  • เอกนฤน บางท่าไม้ (Eknarin Bangthamai)
  • สิทธิชัย ลายเสมา (Sitthichai Laisema)

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาฯและ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาฯ การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม ประกอบด้วยการประเมิน 4 ด้าน คือ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต มีกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 3 คน 2) อาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน จำนวน 8 คน 3) นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 13 คน และ 4) หัวหน้าของหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ จำนวน 13 คน โดยใช้ประเด็น การสนทนากลุ่มและแบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติบรรยายในการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา พบว่าควรพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับบริบท ความต้องการของสังคมและประเทศชาติ และเทคโนโลยี เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียนจากสถาบันการศึกษาทั้งใน และต่างประเทศและควรส่งเสริมให้อาจารย์มีการพัฒนาตนเอง เน้นกระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่

References

Buasri, T. (1989). Curriculum Theory: Design and Development. 2nd ed. Bangkok: Mongkol Printing. (in Thai)

Inyai, C. (2010). Evaluate Project. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Khemmarat, R.,Prudtiprapha, P., Phumwan, D. and Surasil, J. (2015). An evaluation of Master of Education Program in Teaching English as a Global Language. Chonburi: Faculty of Education, Burapha University. (in Thai)

Ministry of Information and Communication Technology. (2011). National ICT Policy Framework 2011-2020: ICT 2020. 1st ed. Bangkok. (in Thai)

Nilapan, M. (2010). “Curriculum evaluation focusing on decision using system approach by CIPP Model” Handbook for curriculum assessment in graduate level. Graduate School. Silpakorn University. (in Thai)

Patphol. M. (2015). The evaluate curriculum for learning and developing. 4th ed. Bangkok : Charansanitwong Printing. (in Thai)

Phitiyanuwat, S. (1997). Article of project evaluation. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Phusara, R. (2003). Curriculum development :education reform. Bangkok: Book point.

Samkoses, W. (2016). Good Curriculum. News in Educational Qualification, King Mongkut's

Thongthae, P. (2013). Conclusion of knowledge, curriculum development. [Online]. Retrieved January 9, 2020, from http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:x9jZKdaO5eEJ:pattarawadeemaii.blogspot.com/+&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th (in Thai)

University Of Technology North Bangkok. 360 (1), 1. (in Thai)

ภาษาต่างประเทศ

Cox Peterson. (2004). A Qualitative Analysis of A Cohort Doctoral. Program in Educational Administration” University of Purdue.

Frye, A. W., and Hemmer, P. A. (2012). Program evaluation models and related theories: AMEE guide no. 67. Med. Teach. 34, e288–e299.

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย