การพัฒนาความสามารถในการอ่าน เขียน ภาษาไทยโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะ ตามกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SA4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา สำหรับโรงเรียนที่ได้รับการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (Development of Thai Reading and Writing Ability by Using Skill Training in Accordance with the SQ4R Learning Management Process of Primary School Students for Schools Receiving Academic Services Nakhon Pathom Rajabhat University)

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ ชนะสิทธิ์ (Duangjai Chanasid)
  • อรพรรณ ตู้จินดา (Oraphan Toochinda)

คำสำคัญ:

ชุดฝึกเสริมทักษะ, การอ่าน เขียน, การเรียนรู้แบบ SQ4R

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาความสามารถในการอ่าน เขียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะความสามารถการอ่าน เขียนภาษาไทยตามกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R  2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน เขียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6 ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะความสามารถในการอ่าน เขียน ภาษาไทยตามกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R และ 3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 หลังจากใช้ชุดฝึกเสริมทักษะความสามารถในการอ่าน เขียนภาษาไทยโดยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวนนักเรียน 368 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบคลัสเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นชุดแบบฝึกเสริมทักษะอันประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผล และ การทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาความสามารถในการอ่าน เขียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะความสามารถการอ่าน เขียนภาษาไทยตามกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R

พบว่านักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.12  2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน เขียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4-6 ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะความสามารถในการอ่าน เขียน ภาษาไทยตามกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R  พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบวัดก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 หลังจากใช้ชุดฝึกเสริมทักษะความสามารถในการอ่าน เขียนภาษาไทยโดยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ภาพรวมพบว่า เจตคติอยู่ในระดับมาก โดยเห็นว่าการเขียนภาษาไทยทำให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจ รองลงมาคือนักเรียนมีความภาคภูมิใจที่ปฏิบัติงานในการนำเสนอตามข้อปฏิบัติในชุดฝึกเสริมทักษะความสามารถด้านการอ่าน เขียนภาษาไทยได้ดี และเห็นว่า การอ่านภาษาไทยทำให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจมากขึ้น

References

จินดารัตน์ ฉัตรสอน. (2558). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL ร่วมกับแบบฝึก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จินตนา ช่วยพันธุ์ (2552). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การเขียนคำภาษาไทยและความพึง
พอใจในการเรียนระหว่างการสอนแบบแจกลูกสะกดคำกับการสอนเป็นคำของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ชลธิดา หงส์เหม. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธิดา บู่สามสาย. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R
โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกาญจนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นภาภรณ์ ทาโยธี (2554). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำพื้นฐาน โดยใช้แบบฝึกทักษะด้วยการ
สอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บรัสกร คงเปี่ยม. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปิยธิดา รอดซุง. (2561). การพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561.
ไพทูลย์ มูลดี. (2546). การพัฒนาแผนและแบบฝึกทักษะ การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตรา
ตัวสะกดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มณฑาทิพย์ อัตตปัญโญ. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตรา
ตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การประชุมวิชาการแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9.
มณีรัตน์ กันหาวรรณะ. (2557). การพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่อ่านและเขียนไม่คล่อง โดยใช้ชุดฝึกแจกลูกและสะกดคำ โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลข เขต 1.
รังษิมา สุริยารังสรรค์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรีวรรณ ชัยเพชร และคณะ. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำภาษาไทยสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2558).
สุวิทย์ มูลคำ และ สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ.
กรุงเทพฯ : อี เค บุค.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551).การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ
(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมาลย์ ยืนยั่ง. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย