การเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานของนักศึกษาครู (Enhancing Life and Career Skills of Students Teacher)
คำสำคัญ:
ทักษะชีวิตและการทำงาน, นักศึกษาครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็น ทักษะชีวิตและการทำงาน ของนักศึกษาครู และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างวิจัย ได้แก่ นักศึกษาครูจากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐและในกำกับของรัฐ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการประเมินความต้องการจำเป็นทักษะชีวิตและการทำงาน ของนักศึกษาครู และ 2) แบบสัมภาษณ์แนวทางเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานของนักศึกษาครู การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการแบบปรับปรุง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลประเมินความต้องการจำเป็นทักษะชีวิตและการทำงานของนักศึกษาครู พบว่า ค่าดัชนีลำดับ ความต้องการแบบปรับปรุงของทักษะชีวิตและการทำงานของนักศึกษาครูในภาพรวมพบว่า มีค่าเท่ากับ .16 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านความเป็นผู้นำและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีค่าดัชนีลำดับความต้องการแบบปรับปรุงสูงที่สุด (.22) รองลงมาคือ ด้านรู้จักวางแผนงานและรักการเรียนรู้ (.21) และด้านความยืดหยุ่นผ่อนปรน (.16) ตามลำดับ โดยด้านทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม มีค่าดัชนีลำดับความต้องการแบบปรับปรุงต่ำที่สุด (.09) 2. แนวทางเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานของนักศึกษาครู ประกอบด้วย 1) สร้างความตระหนักรู้และความสำคัญเกี่ยวกับทักษะชีวิตและการทำงานให้กับนักศึกษา 2) สอดแทรกหรือบูรณาการการเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานของนักศึกษาครูผ่านรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตร และ 3) ส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงานจากประสบการณ์จริง
References
Kosolwet, N. and Kaemkate, W. (2015). “A Study on Perceptions of Life Skills and Learning Management Circumstances about Life Skills of Teachers”. An Online Journal of Education OJED 10(4): 392-404.
Chaisongkram, P. (1999). Being a Teacher. Bangkok: Chulalongkorn Press.
Klaiwthong, S. (2013). “Somes Factors Affecting to Life Skill of Mathayomsuksa V Students in the Secondary Education Service Office Area II”. Veridian E-Journal. 6(3): 443-460.
Wongwanich, S. and Wiratchai, N. (2015). Needs Assessment Research. Bangkok: Chulalongkorn Press.
Savas, A. C., et al. (2015). “Teachers’ perception on the Relationship between Change Leadership and Organizational Commitment”. International Journal of Educational Methodology 1(1): 9-18.