ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ จังหวัดปทุมธานี (The Effects of Learning Management Based on Constructivism Theory in The Topic of Introduction to Economics on Learning Achievement and Problem Solving Thinking Ability of Mathayom Suksa I Students at Anuban Wat Bangnangbun School in Pathum Thani Province)

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ เพชรดี (Chaweewan Petchdee) แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดรุณี จำปาทอง (Darunee Jumpatong)

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยการจับสลากห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน และอีกหนึ่งห้องเรียนเป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบ วัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ4) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

1. Chanida Teeranun. (2003). The Effect of Constructivism Upon Student Achievement and Student Critical Thinking about Thailand Economic Information in Geography on The Topic of The Social Religion and Culture of Mattayomsuksa 1 Student Prommanusorn School Petchaburi Province. Master of Education Thesis Program in Curriculum and Instruction Graduate School Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
2. Lord, T.R. (1999). “A comparison between traditional and constructivist teaching in environmental science.” Journal of Environmental Education. 3 (30) : 22-27.
3. Manutchaya Seejinda. (2010). The development of learning activities in social studies, religion and tradition substance for Prathomsuksa II students by cooperative learning which supports the learning construction of Constructivist. Master of Education Thesis Program in Curriculum and Instruction Graduate School Khon Kaen University. (in Thai)
4. Ministry of Education Thailand. (2009). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Factory Print Cooperative and Agriculture of Thailand Ltd. (in Thai)
5. Office for National Education Standards and Quality Assessment. (2019). External quality assessment report Fourth Round (2016 - 2020) Early Childhood Education and Basic Education Level at Anuban Wat Bangnangbun School. Bangkok: Office for National Education Standards and Quality Assessment (public organization). (in Thai)
6.Office of the Basic Education Commission. (1999). National Education Act 1999 Section 22 Section 24 (2) (3). Bangkok: Printing House, Shipping and Package Organization. (in Thai)
7. Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Chili Sweet Graphic Co., Ltd. (in Thai)
8. Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). Economic and Social Development Plan National Issue No. 12 2017 – 2021. Bangkok: Office of the Prime Minister. (in Thai)
9. Rattiya Buadaeng. (2016). Development of Knowledge Building Packages Based on the Constructivism of Sufficiency Economy Philosophy As A Facting Prathom suksa 6 Students' Responsibilty, Problem Solving Ability Andlearning Achievements of Substance Learning Group on Social Studies,Religion and Culture. Master of Education Thesis Program in Research and Development Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai)
10. Sumalee Chaicharoen. (2008). Constructivist theory. Khon Kaen: Department of Educational
Technology, Faculty of Education Khon Kaen University. (in Thai)
11. Supachai Somnuan and Rungfa Kitiyanusant. (2013).The Effect of Learning Activity Management on Social Studies, Religion, and Cultural Subject on Constructivism Theory for Prathomsuksa 6th Students. Journal of Education and Social Development 9(1): 119-133. (in Thai)
12. Suriya Klinbanchune. (2015). The Development of Physical Education Instructional Model Based on Constructivist Approach for Developing Creative Thinking and Problem Solving Ability for Elementary School Students. Degree of Doctor of Philosophy Program in Health and Physical Education Department of Curriculum and Instruction Faculty of Education Chulalongkorn University. (in Thai)
13. Tisana Khemmanee. (2018). Pedagogical Science: Knowledge for effective learning process (No. 22). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
14. Waraporn Khetsopha. (2012). The Effects of Learning Application Using Contructivist Theory Emphasizing on The Four Noble Truths Based on The Problem Solving Process Affecting Attitudes Toward Learning Abilties to Solve Problems and Learning Achievement in Mathematics of Prathom Suksa 5 Student. Master of Education Thesis Program in Research and Development Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย