การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนบูรณาการการแสดงเพลงขอทานชุมชนบ้านสมุน จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (The Development of an Activity to Develop Learners to Integrate Beggar Folk Performances in Suphan Buri Province of Prothom 6 Students)

ผู้แต่ง

  • พัชรพล พำขุนทด (Patcharapool Pamkuntod) +66871641637
  • จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์ (Chitnarong Iamsamang)

คำสำคัญ:

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, เพลงขอทานชุมชนบ้านสมุน, จิตสาธารณะ, การร้องเพลงขอทาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนบูรณาการ การแสดงเพลงขอทานชุมชนบ้านสมุนจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผล ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนบูรณาการการแสดงเพลงขอทานชุมชนบ้านสมุนจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อเสริมสร้าง จิตสาธารณะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสุวรรณนาคีจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบบประเมินการมีจิตสาธารณะ แบบประเมินความสามารถในการร้องเพลงขอทาน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่พัฒนาขึ้นทั้งหมด 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) ปฐมบทเพลงขอทาน 2) ยอยกพานไหว้ครู 3) เรียนรู้บทเกริ่นท่วงทำนอง 4) ฝึกร้องบทหลัก 5) อนุรักษ์จัดวงแสดง และ 6) ร่วมแรง จิตสาธารณะ มีค่าความเหมาะสมที่ระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.70, S.D. = 0.47) และมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 91.80/97.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีพัฒนาการด้านจิตสาธารณะ และพัฒนาการความสามารถในการร้องเพลงขอทานสูงขึ้น และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในระดับมากที่สุด

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย