การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาจีนสู่เมืองพระยาแล เพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านการฟังและการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (The Development of Supplementary Courses on The Chinese Language for Phraya Lae City to Develop Chinese Listening and Speaking Abilities for Grade 12 Students Using Simulation-based Learning)

ผู้แต่ง

  • สุวิภา สุริยะปัญญา (Suwipa Suriyapanya)
  • ศิริพงษ์ เพียศิริ (Siribhong Bhiasiri)

คำสำคัญ:

หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาจีน, การเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง, ความสามารถด้านฟังและการพูดภาษาจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาจีนสู่เมืองพระยาแล เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบสถานการณ์จำลอง ให้มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป ใช้รูปแบบการวิจัยและการพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม ความต้องการการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาจีน 2) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาจีนสู่เมืองพระยาแล 3) แบบประเมินเอกสารหลักสูตร 4) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 20 ชั่วโมง 5) แบบทดสอบความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาจีน และ 6) แบบประเมินการใช้หลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาจีนสู่เมืองพระยาแล มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.48, S.D. = 0.56) 2) ความสามารถด้านการฟังภาษาจีน ของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 12.93 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.20 และจำนวนมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 32 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) ความสามารถด้านการพูดภาษาจีนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 12.86 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.73 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 32 คน คิดเป็นร้อยละ 88.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

References

Aungwattanakul, S. (1997). The development of the self-directed learning Based in reading English For understanding for high school students. Doctoral thesis Program in Curriculum and Instruction Faculty of Education Chulalongkorn University. (in Thai)
Chambers, R. (1980). Rural Development : Putting The Last First. Essex :Longman.
Chanpengpen, N. (2017). Development of Chinese Speaking Skills for Pratom Suksa 5/1 Students Through Role Play. Master of Education thesis Program in Curriculum and Instruction Faculty of Education Rajabhat Mahasarakham University. (in Thai)
Duangtian, T. (2019). The development of Supplementary courses, Chinese language for tourism in the development of speaking ability Of Grade 12 students using a language teaching model for communication. Master of Education thesis Program in Curriculum and Instruction Faculty of Education Khonkaen University. (in Thai)
Jaisabai, S. (2017). “A Development of Subject Curriculum on English for Cultural Tourism Based on Place-Based Education with Task-Based Learning for Students of Mahachulalongkornrajavidylaya University Nakorn Phanom Buddhist”. Dhammathas Academic Joural 19(1): 162. (in Thai)
Khanti, A. (2020). “Using Simulation Activities to Promote the Chinese Listening and Speaking Abilities of Grade 5 Students”. Silpakorn Educational Reseach Journal 12(1): 467. (in Thai)
Khemmani, T. (2011). A method of teaching knowledge to develop an effective learning process. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Wanchai, P. (2010). The English Language listening-speaking abilities of the 6 grade students using a direct teaching. Master of Education thesis Program in Curriculum and Instruction Faculty of Education Khonkaen University. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2021-07-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย