ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 (Leadership Quality of Educational Administrator in 21st Century of School under Secondary Educational Service Area Office 1)

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ หอมจันทร์ (Piyaporn Homchun)
  • อุไร สุทธิแย้ม (Urai Suthiyam)

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 364 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ การรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .894 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t (t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยสูงสุดด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการนิเทศการสอน ประเมินผลการสอนและการพัฒนาครู และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารหลักสูตร 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวม และรายด้านแตกต่างกันและผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน

References

กรองทอง จิรเดชากุล. 2550. คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.
ไกศิษฏ์ เปลรินทร์. (2552) การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน . มหาวิทยาลัยขอนแก่น/ขอนแก่น.
เกียรติชัย ศรีระชัย .(2556).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการ ดําเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (การบริหารการศึกษา).ม.ค วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย บัณฑิตวิทยาลัย :เลย.ถ่ายเอกสาร

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
นิพนธ์ บัวชม และจิณณวัตร ปะโคทัง. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาในสหวิทยาเขตที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 14(3), 115-125
นารินทร์ เดชสะท้าน. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.
บุญญา ทรัพย์โสม. (2560). “ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาหญิงในทรรศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4”.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาราชภัฏสกลนคร. (14),66. 132-142
ผ่องพรรณ พลราช. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences. 1(1). 27
มยุรา ศรีสมุทร. (2555). การศึกษาแบบภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทรรศนะของผู้บริหารและครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลยราชภัฏอุบลราชธานี
ลัดดาวรรณ นัดดาเทพ. (2557) . ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิจารณ์ พานิช. 2556. ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ. เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์จำกัด.
Cohen, Louis. Lawrence, Manion. & Keith Morrison. (2011). Research Methods in Education. 7th Edition Routledge U.S.A.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย