ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม (Proposed Policy for Chedi-bucha Canal Area Management as The Creative Tourism Attraction of Nakorn Pathom Province)

ผู้แต่ง

  • วายุภักษ์ วงศ์ศักดิรินทร์ (Wayupak Wongsakdirin)
  • คณิต เขียววิชัย (Kanit Kheovichai)

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, คลองเจดีย์บูชา, แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่คลองเจดีย์บูชาในการจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่คลองเจดีย์บูชาในการจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการคลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย ใช้ระเบียบวิจัยเชิงผสมผสาน โดยในการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 359 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชนจำนวน 4 คน การสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน และการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามแบบประเมินค่า 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับสภาพบริบทในพื้นที่ 3) แบบประเมินเพื่อรับรอง(ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบททั่วไปพื้นที่คลองเจดีย์บูชาสามารถนำมาจัดการให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ 2) การประเมินศักยภาพการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม อยู่ในระดับปานกลาง 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการพื้นที่คลองเจดีย์บูชาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย 5 นโยบาย ดังนี้ (1) นโยบายด้านการบริหารจัดการ (2) นโยบายด้านการปรับภูมิทัศน์ (3) นโยบายด้านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว (4) นโยบายด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการท่องเที่ยว และ (5) นโยบายด้านการประชาสัมพันธ์

เผยแพร่แล้ว

2021-12-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย