การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถ การสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา (The Development of Online Professional Learning Community Model to Enhance Learning Management Ability of Students Practice with Design Thinking Process for Fostering Creative Innovation Ability of Elementary School Students)

ผู้แต่ง

  • กุลกาน์ สุวรรณรักษ์ (Kulakarn Suwanrak) มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย (Siriwan Vanichwatanavorachai)

คำสำคัญ:

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ, การสร้างสรรค์นวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนประถมศึกษา จำนวน 78 คน นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 4 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 4 คน อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 1 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการ 4) การวัดและประเมินผล และ5) เงื่อนไขในการนำรูปแบบการสอนไปใช้ ผลการศึกษาประสิทธิผลของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์ พบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาวิชาชีพครู หลังได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมากและพัฒนาขึ้นระหว่างได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบของนักศึกษาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมากที่สุดและพัฒนาขึ้นระหว่างได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) ความคิดเห็นของสมาชิกที่ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ความสามารถการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาอยู่ในระดับที่สุดและพัฒนาขึ้นระหว่างได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

References

จิราพร รอดพ่วง. (2559). “การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ การคิดอย่างเป็นระบบ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู.” ปริญญานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชาริณี ตรีวรัญญู. (2550). “การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาผ่านบทเรียน.” ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์. “การศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) แนวคิดใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพครู.” วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 1, 2 (กรกฎาคม-กันยายน 2554): 86-89.
ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. “การเรียนรู้แบบจินตวิศวกรรม (Imagineering).” วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา 25, 86 (เมษายน –มิถุนายน 2556) :1-7.
พรทิพย์ ไชนไสย และรุ่งฤดี กล้าหาญ. (2556). “การพัฒนาระบบ การประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาล.” วารสารพยาบาลทหารบก 14, 2
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี แย้มกสิกร. (2561). “ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ: ความท้าทายต่อการเปลี่ยนตนเองของครู”. ในการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2559 เรื่อง “การวิจัยนวัตกรรม การเรียนรู้และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). “โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ.” วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 25, 1 (มกราคม - เมษายน 2557), 1-10.
วรากร หงษ์โต. (2553). “การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). กระบวนทัศน์การโค้ช เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2561. จาก http://www.kruinter.com/file/29720141006205700-%5Bkruinter.com%5D.pdf.
สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ สู่สถานศึกษาสำหรับศึกษานิเทศก์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุกัญญา แช่มช้อย.(2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2562. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article /view/9391 /8501.
สุเมธ งามกนก. “การบริหารการศึกษาเพื่อส่งเสริมการศึกษาบทเรียน (Lesson study)”. วารสารศึกษาศาสตร์ 24, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2556): 37-47.
ภาษาต่างประเทศ
Aylsworth, Anthony James. (2012). Professional learning communities: An analysis of teacher participation in a PLC and the relationship with student academic achievement. Graduate Theses and Dissertations.
Carroll et al. (2010). Destination, imagination and the fires within: Design thinking in a middle school classroom. International Journal of Art & Design Education, 29(1), 37-53.
DuFour,R.,and Eaker,R. (1998). Professional learning communities at work: Best practice for Enhancing student achievement. Bloomington, In : Solution Tree.
Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Texas: Southwest Educational Development Laboratory.
Kwek, S. H. (2011). Innovation in the classroom: Design thinking for 21st century learning. [Online]. Retrieved November 19, 2018, from http://www.stanford.edu/group/redlab/cgi-bin/publications_resources.php
McMillan, W. D., & Chavis, M. D. (1986). Sense of community: a definition and theory. Journal of Community Psychology, 14(1), 6-22.
Senge, P.M. (1990).The fifth discipline: the art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.
The Stanford d.school Bootcamp Bootleg. (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE. [Online]. Retrieved November 19, 2018, from https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/esignresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf

เผยแพร่แล้ว

2021-12-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย