สังเคราะห์ชุดโครงการวิจัยกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน อยู่ดี กินดี มีสุข อย่างยั่งยืน (Synthesis the Research Series of Learning Management Plan to Enhance Health Communities to Live Well, Eat Well Be Happy for Sustainable)
คำสำคัญ:
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้, การเสริมสร้างสุขภาวะชุมชน, การอยู่ดีกินดีมีสุขอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การสังเคราะห์ชุดโครงการวิจัยแผนงานวิจัยกระบวนจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างชุมชน อยู่ดี กินดี มีสุข อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ 1) การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชน 2) องค์ความรู้แหล่งเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชน 3) การพัฒนาเครือข่ายกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของเด็กและเยาวชน 4) องค์ความรู้ระบบกลไกกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต จากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์จำนวน 6 โครงการย่อย สรุปผลการสังเคราะห์ชุดโครงการวิจัยได้ว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ 2) ขั้นตอน/วิธีการจัดการเรียนรู้ 3) เครือข่ายการจัดการเรียนรู้ 4) กลไกการจัดการเรียนรู้ 5) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนรู้ 6) ผลลัพธ์การเรียนรู้ ชุดโครงการวิจัยได้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมจากการวิจัย ได้แก่ 1) การเตรียมพร้อมด้านการจัดการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา 2) องค์ความรู้องค์ความรู้หลักสูตรท้องถิ่น ได้แก่ หลักสูตรการเป็นพ่อแม่มือใหม่ หลักสูตรท้องถิ่นศึกษา “กินอยู่อย่างพอเพียง” 3) การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้เด็กและเยาวชนทั้งในด้านทักษะการดำเนินชีวิต และ 4) การพัฒนาการเรียนรู้เพื่อรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการพัฒนาเครือข่ายกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) นักวิจัยของท้องถิ่น 2) ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 3) นักวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 4) นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 5) คณะผู้บริหารงานวิจัย 6) เกษตรกรต้นแบบ สำหรับระบบและกลไกกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) โครงสร้างความสัมพันธ์ของชุมชน 3) ระบบการจัดการเรียนรู้ 4) บุคลากร 5) ทักษะความรู้ความสามารถ 6) แบบแผนการดำเนินชีวิต และ7) ความคิด ความเชื่อ และค่านิยม
References
Chatcharin Chaiyawat. (2013). To the fourth wave ... after ... technology turns people into
buffalo. Bangkok: Green-Panyayan, EPPO.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). The National
Economic and Social Development Plan. Bangkok Office of the National Economic
and Social Development Council.
Office of the Education Council. (2560). The National education plan B.E. 2560-2579 (2017- 2036). Bangkok: Prigwhangraftfic.
Chanphen Suriyawong, (2017). Quality of life of the elderly in Phetchabun province Health Promotion Journal and environmental health. 34 (1): 84-97.
Sumet Tantivejkal, (2016). Tam roy phra yukholabath kru haeng phandin. Bangkok : Printing Press of Chulalongkorn University.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong,
Australia: Deakin University Press
Somphan Techathik & Winai Wongasa. (2012) . Community well-being for well-being. Humanities and Social Sciences. 29(2): 1-22.
Patcharawalai Suppa. (2019) . The Network of Development of Being the City Prototype
Community inthe Community Organization of Raiking Sub-District, Sampran District,
Nakorn Pathom Province. Journal of Educational Innovation and Research. 2(2)
: 69-80.