ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (Effect of Learning Management by Using Phenomenon-based Learning on Critical Thinking and Creative Thinking of Grade 12 Students)

ผู้แต่ง

  • หัสวนัส เพ็งสันเทียะ (Hasawanus Pengsantia) 086-3575225
  • มนตา ตุลย์เมธาการ (Manaathar Tulmethakaan)
  • อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล (Ittipaat Suwathanpornkul)

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และ 2) ศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ ตัวอย่างในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงและดำเนินการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ 4) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และ 5) แบบสังเกตเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำและการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานมีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน และระหว่างเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน พบว่าบรรยากาศในชั้นเรียนมีความแปลกใหม่ มีอิสระในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีความสนุกสนาน นักเรียน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันให้ความร่วมมือและกระตือรือร้นในการเรียนเป็นอย่างดี และมีพฤติกรรมการแสดงออก ทางความคิดที่มากขึ้น

References

Bungkilo, W. and Heingraj, C. (2014). “The Development of Mathematics Learning Activities Based on Constructivist Theory and Brainstorming Technique to Enhance Higher Order Thinking in “Sequences and Series” for Matthayomsuksa 5”. Journal of Education Khon Kaen University 37(4): 140-148. (in Thai)
Butkatunyoo, O. (2018). “Phenomenon Based Learning for Developing a Learner’s Holistic Views and Engaging in the Real World”. Journal of Education Studies, Chulalongkorn University 46(2): 348-365. (in Thai)
Chalarak, N. (2015). “The Teacher’s Role and Instruction in The 21st Century”. The Far Eastern University Academic Review 9(1): 64-71. (in Thai)
Chatayapha, P. (2017). “The Development for Critical Thinking of Students in Early Childhood Education Major Based on Problem – Based Learning”. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University 11(3): 119-131. (in Thai)
Mahavijit, P. (2017). “Innovation of Learning from Finland”. IPST Magazine 46(209): 40-45. (in Thai)
Mahavijit, P. (2019).“Application of Phenomenon-Based Learning and Active Learning in Education Course to Enhance 21St Century Learning Skills”. Journal of Education Khon Kaen University 42(2): 73-90. (in Thai)
Office of the Civil Service Commission. (2015). Creative Thinking. [online]. Retrieved 20 November, 2018, form https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf. (in Thai)
Panich, V. (2012). Learning Strategies for Student in 21st Century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation. (in Thai)
Panich, V. (2013). The new learning paradigm for 21st century. Bangkok: Siam Commercial Foundation. (in Thai)
Puntura, S. and Chookhampaeng, S. (2018).“The Development of Critical Thinking by Using Problem based Learning Activity with Socioscientific Issue of Genetics Changes and Biotechnology for Matthayomsueksa 5 Students”. Journal of Education, Mahasarakham University 12(3): 196-206. (in Thai)
Sansombut, C. (2016). “Teaching Critical Thinking Skills for Living in The 21st Century. Nakorn Lampang Buddhist College’s Journal 5(2): 1-11. (in Thai)
Sukjaroen, N. (2016). The Instructional Design to Enhance Creative and Critical Thinking Based on Research Synthesis Results. Doctor of Philosophy Thesis Program in Curriculum Research and Development Graduate School Srinakharinwirot University. (in Thai)
Sinthapanon, S., Wannalerslak, W. and Sinthapanon, P. (2012). The Development of Thinking Skills According to Educational Reforms. 5th ed. Bangkok: Technique Printing. (in Thai)
Tanapant, S. (2017). “Effects of Social Studies Learning Activities Using Creative Problem Solving Process on Creative Thinking and Critical Thinking Abilities of Ninth Grade Students”. An Online Journal of Education 12(3): 313-329. [Online]. Retrieved 3 October, 2018, from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/141900. (in Thai)
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology . (2016). The Results from PISA 2015. [Online]. Retrieved 20 November, 2018, from https://drive.google.com/file/d/0BwqFSkq5b7zSYjRxQ2hKY0dSb0k/view. (in Thai)
Thongking, P. (2020). “The Teacher’s Role and Creating a Positive Learning Environment in the 21st Century Classroom”. CMU Journal of Education 4(1): 50-59. (in Thai)
Zhukov, T. (2015). Phenomenon-Based Learning: What is PBL?. [Online]. Retrieved 3 October, 2018, from https://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-learning-what-is-pbl

เผยแพร่แล้ว

2021-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย