การพัฒนาความสามารถในการฟัง-พูด ภาษาจีน ด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (The Development of Chinese Listening and Speaking Ability Based on Task Based Learning with Multimedia for Mattayomsuksa 1 Students)

ผู้แต่ง

  • คุณาพร มีเจริญ (Kunaporn Meecharoen) 0955591715
  • อุบลวรรณ ส่งเสริม (Ubonwan Songserm)

คำสำคัญ:

ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีน, การจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน, สื่อมัลติมีเดีย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ ในการฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 37 คน ของโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย Simple Random Sampling โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผล การเรียนรู้ 3) แบบวัดความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดียสูงกว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดียสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ((X ̅) = 4.58 , S.D. = 0.31)

References

Boonthanom, P. (2010). The Development of Computer Assisted Instruction on Information Technology for Matthayomsuksa 4 Satreesettabutbumpen School. Master of Education,
Silpakorn University. (in Thai)
Chinese Centre, Asia Institution. (2008). Chinese Teaching in Thailand of Higher Educaion. Bangkok : Chulalongkorn University. (in Thai)
Darapong, N. (2011). The Development of Learning Outcomes on Geometric Transformation of Eighth Grade Students Taught by Task-Based Learning. Master of Education, Silpakorn
University. (in Thai)
Klinhom, N. (2016). Development of Grade 11 Students’ Chinese Speaking Skills Using TBL (Task-Based Learning). Master of Education,
Kaoleesean. (2016). Ability of Practice Chinese Speaking Skill of Thai Students. Guangxi Univetity. (in Thai)
Nillapun, M. (2015). Educational Research Methodology : Research Design. (9th ed.). Nakhon Pathom: Campus Educational Research and Development, Faculty of Education, Silpakorn
University. (in Thai)
Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (2014). Office of the Basic Education Commission Policy, Budget year 2015. Bangkok : The Agricutural Co-operative
Federation of Thailand. (in Thai)
Office of the Higher Education Commission. (2010). Chinese Teaching Strategies in Thailand. Bangkok : Office of the Higher Education Commission. (in Thai)
Sankaburnurak, S. (2016). The Development of Chinese Language Instruction Model Based on Task-Based Learning in Order to Enhance Reading Comprehension Ability of Undergraduate
Students. Doctor Of Philosophy,Silpakorn University. (in Thai)
Suwansaard, T. (2019). The Development of Learning Outcome on Chinese Phonetics for Eighth Grade Students Taught by Task-Based Learning with TGT Technique. Master of Education,
Silpakorn University. (in Thai)
Haphuriwat, N. (2012). The Development of a Chinese Language Task-Based Instructional Model Using Associative Memory Techniques for Chinese Character Recognition to Enhance
Reading Ability of Undergraduate Students. Degree of Doctor of Philosophy, Chulalongkorn University. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2021-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย