การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุสำหรับผู้เรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (Development of Elderly Care Behaviors Enhancement Model for Learners through School-based)

ผู้แต่ง

  • กันยารัตน์ เมืองแก้ว Kanyarat Muangkaew 0898993012
  • กมล โพธิเย็น Kamol Phoyen

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, พฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุ, โรงเรียนเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุสำหรับผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุสำหรับผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยศึกษากลุ่มทดลองแบบกลุ่มเดียวที่วัดด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุสำหรับผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน และ 5) แบบบันทึกสะท้อนผลการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุสำหรับผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 4) การประเมินผล สำหรับประสิทธิผลของรูปแบบที่เป็นผลมาจากการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ พบว่า คะแนนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุสำหรับผู้เรียนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Anderson, T. P. (1997). Using Models of Instruction. In C. R. Dills and A. J. Romiszowski (eds.).
Benjawong, S. (1998). The Elderly, the elderly and the elderly: Social and Cultural Dimensions. Journal of Humanities & Social Sciences. 54-60. (in Thai)
Joyce, B. R., & Weil, M. (2008). Model of Teaching. (8th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Joyce, B. R., Weil, M. & Calhoun, E. (2009). Model of Teaching. (8th ed.). Boston: Pearson.
Kaeodumkoeng, K., & Thummakul, D. (2015). Health literacy promoting in aging population. Journal of Health Science Research. 9(2), 1-8. (in Thai)
Khemmani, T. (2014). Pedagogical Sciences: Knowledge for organizing effective learning processes. (18th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Kumpetch, S. (2002). Contribution of Health Promotion Behaviors, Community Participation, and the Need for Social Welfare Services to a Mental Health Status of the Elderly Persons in District of Muang, Ranong Province. A Thesis for the Degree Master of Arts, Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)
Namanee, P. (2016). Sadarasantosa and Stability of Family Institution. Journal of MCU Peace Studies. 4(1), 42-55. (in Thai)
National Institute for Child and Family Development. (2012). Positive thinking builds relationships between ages. [Online] . Retrieved 20 June, 2021, from https://cf. mahidol.ac.th/th/%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/ (in Thai)
Phothinam, S., Saensak, P., Poonsawat, J., Pansila, W., Pansila, C., Ploylearmsang, C., Suttajit, S., Sirithanawuttichai, T., & Pichinarong, N. (2009). Thai-elderly; Mahasarakham Province Context. Srinagarind Medical Journal. 24(3), 197-205. (in Thai)
Suryachay, S. (2009). A Need Assessment for Promoting the Life Quality in BangSaipa subdistrict, Banglen district, Nakhon Pathom province. A Thesis for the Degree Master of Arts, Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)
Yodphet, S., Sombat, L., Chokthanavanich, P., & Sakdaporn, T. (2009). Good models on the elderly care by family and community in rural areas in Thailand. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine. 3, 13-24. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย