การพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยวัยที่สาม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สำหรับการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ (Development of University of the Third Age Model, Faculty of Education, Silpakorn University, for Lifelong Learning of the Elderly)
คำสำคัญ:
มหาวิทยาลัยวัยที่สาม, ผู้สูงอายุ, การเรียนรู้ตลอดชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยวัยที่สาม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา โดยการศึกษาเอกสารและการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ การดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การทดลองจัดกิจกรรมและประเมินผล และเสนอรูปแบบของมหาวิทยาลัยวัยที่สาม ผลการวิจัยดังนี้ 1) รูปแบบมหาวิทยาลัยวัยที่สาม เป็นการผสมผสานระหว่างสถาบันทางวิชาการ และการช่วยตนเองของชุมชน 2) การดำเนินงานเป็นแบบเครือข่าย มี 2 ลักษณะ คือ 2.1) มหาวิทยาลัยวัยที่สามศิลปากรเป็นหน่วยจัดการเรียนรู้ และ2.2) เครือข่ายกลุ่มผู้สูงอายุเป็นหน่วยจัดการเรียนรู้โดยมหาวิทยาลัยวัยที่สามศิลปากรเป็นศูนย์ประสานงาน 3) กระบวนการในการจัดตั้ง โดยตั้งคณะกรรมการเพื่อวางแผนและดำเนินการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวัยที่สาม จัดทำเพจเฟซบุ๊ก และเว็บไซต์เพื่อเชื่อมโยงกับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยวัยที่สามในระดับนานาชาติ 4) การจัดการ เน้นความยืดหยุ่นตามความต้องการของกลุ่มสมาชิกและจัดการโดยสมาชิก ใน 2 ด้าน คือ 4.1) ด้านหลักสูตรและกิจกรรม กำหนดเนื้อหาตามความต้องการของผู้เรียน ผู้เรียนมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้สอนเป็นอาสาสมัครมีทั้งบุคลากรเกษียณของมหาวิทยาลัยและวิทยากรรับเชิญ ระยะเวลาของแต่ละหลักสูตรคือ 3 เดือนโดยจัดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ค่าใช้จ่ายเป็นค่าสมาชิกรายปีในราคาต่ำ และค่าอุปกรณ์ในบางหลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ได้แก่ สถานที่เรียนสะดวก มีมุมรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม 4.2) ด้านเครือข่าย ได้แก่ การใช้พื้นที่ของเครือข่ายดำเนินงาน มีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน คือ กลุ่มไลน์ เพจเฟซบุ๊ก จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการประชุม สัมมนา