ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบรับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษา กับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 (The Relationship between Servant Leadership of School Administrators and Participation of Teachers in Management the District Quality Schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 1)

ผู้แต่ง

  • ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ (Phanida Chuchuaysuwan)
  • วิชิต แสงสว่าง (Wichit Saengsawang)

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำแบบรับใช้, การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ, โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำแบบรับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับการมี ส่วนร่วมของครูในการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบรับใช้ ของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณการวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ครูโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สพป.เพชรบุรี เขต 1 จำนวน 193 คน โดยใช้เกณฑ์ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่ และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำแบบรับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความอ่อนน้อมถ่อมตน ด้านการบริการ ด้านการให้อำนาจ ด้านการตระหนักรู้ และด้านการสร้างสังคมชุมชน 2. ระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมี ส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้าน การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 3. ภาวะผู้นำแบบรับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย