การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา (The Research Synthesis about Learning Management Methods Affecting on Student’s Mathematical Problem Solving Competency in Secondary Level)

ผู้แต่ง

  • มลุลี เป็นสุข (Malulee Pensook)
  • ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ (Tatsirin Sawangboon)

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์อภิมาน, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะงานวิจัย 2) ประเมินคุณภาพงานวิจัย 3) เปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพลของวิธีจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำแนกคุณลักษณะงานวิจัย จากงานวิจัยจำนวน 99 เรื่อง โดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2557 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนฯ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ศึกษาในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระที่ 4 พีชคณิต ใช้ระยะเวลา 10 – 15 คาบเรียน มีการตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง ใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest Posttest Design มีการศึกษาตัวแปรอิสระวิธีการจัดการเรียนรู้ ตัวแปรตามเป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะอื่นๆ เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบทดสอบ/แบบวัดทักษะ โดยเครื่องมือในงานวิจัยมีการหาค่าความเที่ยงตรง ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานและขั้นตอนการแก้ปัญหาของ Polya มีการสรุปผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงบรรยายและค่าสถิติทดสอบที 2. ผลการประเมินคุณภาพของงานวิจัย พบว่า ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก 3. คุณลักษณะงานวิจัยที่ทำให้ค่าขนาดอิทธิพลต่างกัน มีจำนวน 5 ตัวแปร ได้แก่ แบบแผนการวิจัย ตัวแปรอิสระ แผนการจัดการเรียนรู้ฯ ชนิดของสื่อการเรียนรู้ฯ และการศึกษามากกว่า 1 สาระการเรียนรู้

References

กิตติยานภาลัย ภู่ตระกูล. (2552). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบระยะเวลาในการศึกษาและคุณภาพวิทยานิพนธ์
ระดับมหาบัณฑิตของนิสิตครุศาสตร์ที่มีคุณลักษณะต่างกัน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2546). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและ
การวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศธร มหาวิจิตร. (2550). กิจกรรมเสริมสร้างทักษะ/กระบวนการคณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้จำนวน
และการดำเนินการ เรขาคณิต และทีคคณิตสำหรับนักเรียนชั้น ม.มหา1. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรทิพย์ พันตา. (2554). การสังเคราะห์งานวิจัยนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์: การวิเคราะห์อภิมาน
และการวิเคราะห์กลุ่มแฝง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริพร ทิพย์คง. (2544). หนังสือเสริมประสบการณ์วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง
การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย:
การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
รัตนะ บัวสนธ์ และคณะ. (2557). การประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัย
นเรศวร. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อุทุมพร พันธ์ชมภู. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการเรียน
คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา : โดยการวิเคราะห์อภิมาน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภิชา อารุณโรจน์. (2553). อิทธิพลของคุณลักษณะผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอนที่มีต่อการคิดขั้นสูงที่ส่งผ่าน
การคิดขั้นต้น: การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Glass. (1976). Primary, Secondary, and Meta-Analysis of Research. Laboratory of Educational
Research University of Colorado.
Polya, G. (1957). How to Solve It: A New Aspect of Mathematical Method. Stanford University.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย