ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติม ภูมิปัญญาไทย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และความตระหนักรู้คุณค่างานฝีมือไทย ในราชสำนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (Effects of Inquiry Learning Management in Thai Wisdom Additional Course on Learning Achievement and Awareness of Royal Court’s Handicrafts Thai Wisdom of Elementary School Students)

ผู้แต่ง

  • อัญญารัตน์ นิติศักดิ์ (Anyarat Nitisak) 082-523-7121
  • สมพงษ์ จิตระดับ (Somphong Chitradub)

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบสืบสอบ, ความตระหนักรู้คุณค่า, ภูมิปัญญาไทยในราชสำนัก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย และ เพื่อเปรียบเทียบความตระหนักรู้คุณค่างานฝีมือไทยในราชสำนักก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ด้วยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และแบบวัดความตระหนักรู้คุณค่างานฝีมือไทยในราชสำนัก สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ 2) ความตระหนักรู้คุณค่างานฝีมือไทยในราชสำนักหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย ค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อยู่ในระดับ มากที่สุด

References

1. Department of Cultural Promotion Ministry of Culture. (2016). Culture, way of life and wisdom. [online]. Retrieved March 5, 2019, from www.culture.go.th. (in Thai)
2. Khammanee T. (2008). Strategies of Teaching : Knowledge for effective learning process management. Bangkok : Chulalongkorn University. (in Thai)
3. Kiatkamjornwong B. (2005). Instructional Management Guidelines In Visual Arts Learning Strand, Prathom Suksa, Thai Wisdom. Master of Education Department of Art Education, Department of Art, Music and Dance Studies Chulalongkorn University. (in Thai)
4. Klinhoam U. (2008). The Results Of Group Investigation Teaching Method On Thai Learning Achievement And Group Process Abilities Of Mathayomsuksa 1 Students. Thesis. Chonburi : Thaksin University. (in Thai)
5. Kowtrakul S. (2007). Educational Psychology. Bangkok : Chulalongkorn University. (in Thai)
6. Longsomboon P. (2009). Administrators'traits affecting community participation in schools under the jurisdiction of Nakhonpathom educational service area office 2. Master of
Education Thesis Silpakorn University. (in Thai)
7. Srisaat B. (2002). Statistical methods for research. Bangkok : Suwiriyasan. (in Thai)
8. Thepkit M. (2012). The wisdom of teacher of royal traditional thai crafts school for women. Thesis Submitted in Partial fulfillment of the Requirements for the Degree Doctoral of Education Program in Lifelong Education and Human Development Department of Education For Human and Social Development. (in Thai)
9. Umar A. (2017). Effect of 5Es Inquiry-based Learning of Chemical Equilibrium on Mental Models, Chemistry Achievement and Satisfaction of Grade-11 Students of Dechapattanayanukul School, Pattani Province. Master of Education Thesis Program in Teaching Science and Mathematics Prince of Songkla University. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย