หลักสูตรอบรมเตรียมพร้อมสำหรับการฝึกประสบการณ์ และพัฒนาทักษะทางสังคม อันพึงประสงค์ของนักศึกษาปริญญาตรี (Training Courses for Preparing Professional Experience and Developing Desirable Soft Skills for Undergraduate Students)

ผู้แต่ง

  • มนตรี ธีรธรรมพิพัฒน์ (Montri Tirathampipat)
  • นิติบดี ศุขเจริญ (Nitibodee Sukjaroen)

คำสำคัญ:

ศึกษาทั่วไป, สหกิจ, ทักษะทางสังคม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการอบรมที่พัฒนาทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการฝึกประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพในอนาคตที่สอดคล้องกับคณะวิชา 2) เพื่อสร้างและอบรมหลักสูตรฝึกอบรมทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการฝึกประสบการณ์ 3) เพื่อสำรวจทักษะทางสังคมของนักศึกษาหลังการฝึกประสบการณ์ จากผู้ประกอบการที่ใช้นักศึกษา มีวิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบการวิจัยและพัฒนา โดยพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมจากข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 กลุ่ม ซึ่งได้แก่ นักศึกษาที่ผ่านฝึกอบรมในปีการศึกษา 2562 อาจารย์ผู้ดูแลการฝึกงาน อาจารย์วิชาศึกษาทั่วไป และผู้ประกอบการที่ใช้บัณฑิต มาบูรณาการร่วมกับรายวิชาตามการจัดกลุ่มสาระของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเป็นหลัก ทั้งนี้หลักสูตรและแบบวัดตลอดการวิจัยนี้ผ่านการประเมินความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำมาทดลองใช้กับกลุ่มนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จำนวน 60 คน 2 วัน หลังจากที่นักศึกษาจบการฝึกประสบการณ์มีการสำรวจทักษะทางสังคมของนักศึกษาจากผู้ประกอบการ 31 คน (เฉพาะสถานประกอบการที่นักศึกษาฝึกงานเกิน 2 สัปดาห์) โดยผลที่ได้นี้จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับคะแนนกับกลุ่มนักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์ปี 2562 โดยใช้ สถิติ t-test แบบ independent แล้วเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยการสัมภาษณ์นักศึกษา 3 คน ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมให้นักศึกษา ประกอบด้วยรายวิชาใน 3 หมวดสาระหลัก อันได้แก่ หมวดสาระศาสตร์และศิลป์แห่งชีวิต หมวดสาระศาสตร์การพัฒนาสุขภาวะและบุคลิกภาพ และหมวดสาระภาษากับการสื่อสาร โดยผลการประเมินจากผู้ประกอบการที่มีต่อนักศึกษา ในทักษะทางสังคมแนวโน้มสูงขึ้น โดยนักศึกษามีความพึงพอใจกับหลักสูตรฝึกอบรมนี้ และมีความคิดเห็นว่าสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง และต้องการให้เกิดหลักสูตรฝึกอบรมให้กับนักศึกษารุ่นต่อ ๆ ไป

References

ชนธี ชำนาญกิจ, ปริญญา ทองสอน, และวิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะทางด้านการใช้ภาษาไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการสหกิจศึกษา โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 7(1): 23-34.
ฐิติมา อัศวพรหมธาดา, ปิยฉัตร จันทิวา, และสุพิชชา ชีวพฤกษ์. (2552). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษาจากสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 5(2): 97-107.
ณัตตยา เอี่ยมคง. (2560). คาดหวัง การรับรู้ของนักศึกษา และ ความคิดเห็นของผู้ประกอบการในการประเมินผล การเรียนรู้การฝึกสหกิจศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ). 10(3): 1802-1816.
ดําเนิน ไชยแสน, จตุพล ยงศร, และจักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มภาคกลาง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 4(3): 55-62.
ดุษฎี มัชฌิมาภิโร. (2553). วิชาศึกษาทั่วไปกับการสร้างคนที่สมบูรณ์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 6(1), 277-286.
นรินทร์ ศรีดอกไม้, ยุทธชัย บันเทิงจิตร, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, และสันชัย อินทพิชัย. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการหน่วยงานสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 5(2): 156-164.
นิรัตน์ แย้มโอษฐ์, และวีระพงษ์ พลนิกรกิจ. (2562). ตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมในการประเมินสมรรถนะของนักศึกษาสหกิจศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 10(2): 101-109.
บุญลดา คุณาเวชกิจ. (2559). แนวทางการพัฒนารูปแบบสหกิจศึกษาของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 12(4): 50-59.
บุปผา ภิภพ, สาคร บัวบาน, และบุญเลิศ เต็กสงวน. (2559). คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษาของสถานประกอบการที่เข้าร่วมสหกิจศึกษา. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. 10(1): 74-85.
ปรียาภรณ์ พูลศิริมัทนาพร, และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์โดยใช้สื่อใหม่ กรณีศึกษาวิชาสหกิจศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์. 3(1): 66-71.
เปรมวดี ศรีพงษ์. (2560). เตรียมคนรุ่นใหม่ให้พร้อมกับการทำงานในอนาคตได้อย่างไร. บทความของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. 20 มีนาคม 2560. https://www.ftpi.or.th/2017/13294
พรชัย พรวิริยะกิจ, ปวีณา เมธีวรกิจ, ปวริศา กิจประสพ, และสินทรัพย์ แซ่แต้. (2562). การสำรวจสภาพความต้องการการทำงานและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการออกสหกิจศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตบางพระ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 8(2): 69-77.
พัชราวดี อักษรพิมพ์, ฑิตฐิตา สินรักษา, และสลิลา วงศ์กระจ่าง. (2562). ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อนักศึกษาฝึกงานก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพจริงสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์” วันที่ 5-6 สิงหาคม 2562 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550.
พัชรินทร์ สินธิพงษ์, และคณะ. (2559). การประเมินรายวิชาในหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปกรณีศึกษากลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6(2): 17-30.
วรรณภา ลือกิตินันท์, พัชนี นนทศักดิ์, และพัทธนัย เสาะแสวง. (2558). ผลของการจัดสหกิจศึกษาที่มีต่อระยะเวลาการได้งานและรายได้ของบัณฑิตสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 9(2): 105-121.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.
วิไลลักษณ์ ขาวสะอาด. (2561). ประสิทธิผลของสหกิจศึกษา : กรณีศึกษา อุดมศึกษาไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 7(3): 206-218.
ศศิภา ปริปุณณะ. (2558). Workforce. บทความของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. 31 มีนาคม 2558.https://www.ftpi.or.th/2015/2263
ศิริพร สว่างอารีย์รักษ์, รัชดา สุวรรณเกิด, ปานแก้วตา ลัคนาวานิช, อลิศรา สระโมฬี, ประภาดา ศรีสุวรรณ, วชรวรรษ พรหมมา, และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2562). ความคาดหวัง ความพึงพอใจ และการประเมินความต้องการจําเป็นในการสหกิจศึกษาของนักศึกษาและบัณฑิตหลักสูตรบัญชี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 8(2): 96-111.
ศิริวรรณ มุนินทรวงศ์. (2561). ปัญหาการฝึกงานและทักษะในการทำงานของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา ฉบับพิเศษ. 8(3): 206-218.
สงกรานต์ ไกยวงษ์. (2561). ความสำคัญของทักษะวิชาชีพบัญชีตามมาตรฐาน การศึกษาระหว่างประเทศทางการบัญชี ฉบับที่ 3 ในโครงการสหกิจศึกษา. สุทธิปริทัศน์. 32(103): 68-90.
สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์. (2558). การบริหารจัดการสหกิจศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7(2): 146-156.
สุภี เขื่อนโพธิ์, และสมใจ บุญหมื่นไวย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษาอย่างยั่งยืนในสถาบันการศึกษาและสถานประกอบการ. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 3(1): 39-54.
สุรมงคล นิ่มจิตต์, อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์, และ ฉัตรปารี อยู่เย็น. (2560). ความคาดหวังของผู้ประกอบการที่มีต่อนักศึกษาโครงการสหกิจศึกษาและนักศึกษาฝึกงานของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 4(1): 47-60.
เสาวนีย์ ศรีจันทร์นิล. (2557). การประเมินผลโครงการสหกิจศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ สาขาวิชาการบัญชี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(1): 145-157.
อัจฉราพร โชติพฤกษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อินทิรา มีอินทร์เกิด, จอมพงศ์ มงคลวนิช, มารุจ ลิมปะวัฒนะ, และชนาธิป สุกใส. (2562). การบริหารงานจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดําเนินงานตามมาตรฐานสหกิจศึกษาของสถานประกอบการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 14(2): 33-44.
อุดม สายะพันธุ์, และรปารี อยู่เย็น. (2558). มุมมองของนักศึกษาต่อประโยชน์ของโครงการสหกิจศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 9(2): 56-67.
Grassa, V.M., Lloret, J., Rodríguez, C., Romero, L., Sanabria, E., & Sanchis, V. (2014). Cooperative Work for Teacher Training. WSEAS TRANSACTIONS on ADVANCES in ENGINEERING EDUCATION. 2(5): 69-76.
Green, N. (2020). การฝึกงานมีความสำคัญอย่างไร. สืบค้นจาก https://ebmt2017.org/การฝึกงานมีความสำคัญอย/ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564
Nababan, T.S. (2014). The Importance of Understanding the General Education in Strengthening the Higher Education System. Munich Personal RePEc Archive. Paper No. 53910: 776-787.
Oliva, P.F.; and Gordon, W. (2012). Developing the Curriculum. 8th edition. Pearson Education, Inc.
POWER SME THAI. (2561). นักศึกษาฝึกงานฟันเฟืองตัวเล็กที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรมากกว่าที่คิด. สืบค้นจาก https://www.powersmethai.com/sme-article/trainee-smes-move/ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564
Raelin, J.A. (2014). The Gendered Effect of Cooperative Education, Contextual Support, and Self-Efficacy on Undergraduate Retention. Journal of Engineering Education. 103(4): 599-624.
Saltymakov, M.S., & Frantcuzskaia, E.O. (2015). Cooperative Learning Approach to Delivering Professional Modules to Bachelor and Master Students: TPU Experience. International Conference for International Education and Cross-cultural Communication. Problems and Solutions (IECC-2015), 09-11 June 2015, Tomsk Polytechnic University, Tomsk, Russia. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 215: 90 – 97.
Thompson, C.A., Eodice, M., & Tran, P. (2016). Student Perceptions of General Education Requirements at a Large Public University: No Surprises? The Journal of General Education. 64(4): 278-293.
Wehlburg, C. (2010). Integrated general education: A brief look back. New Directions for Teaching and Learning. 121: 3-11.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย