ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Administrator’s Adversity Quotient Affecting Being Innovative Organization of Secondary School under the Office of Basic Education Commission)
คำสำคัญ:
ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค, องค์กรแห่งนวัตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 3) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 331 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และ ครู รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,324 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบ (1) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (3) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การมองโลกในแง่ดี ความสำเร็จทางวิชาการ การฟื้นตัวจากการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค และ การรับรู้ความสามารถของตน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่า R = .768 ค่า R2 = .590 ค่า Adjusted R2 = .585 และค่า Standard Error = .24275 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ได้ดังนี้ tot = .184 + .577X6 + .385X2 + .406X4 + .378X3
References
International Journal of Management Review, 8, 1 (2016): 21-47.
Amparo, Maureen M. (2015). “The Level of Adversity Quotient® and Social Skills of Student
Leaders at De LA Salle Lipa.” Bachelor of Science in Psychology, the Faculty of
Psychology Department, College of Education, Arts and Sciences.
Bandura, Albert. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York:
W.H. Freeman and Company
Best, John W. (1970). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Christiansen, J. A. (2000). Building the innovative organization: Management
Systems that encourage innovation. Hampshire: Macmillan.
Cronbach, Lee J. (1974). Essentials of Psychological Tests. 3rd ed. New York & Row Publishers.
Reivich, Karen and Andrew Shatte. (2012). The Resilience Factor. United States:
Three Rivers Press.
Sherwood, D. (2008). Smart things to know about innovation & creativity.
Oxford: Capstone.
Siebert, Al Siebert, (2015). The Resiliency Advantage Master Change, Thrive Under
Pressure, and Bounce Back from Setbacks. United States: Three Rivers Press.
Srivastava, M. (2011). “A Case Study and Survey-Based Assessment of the Management of
Innovation and Technology.” Journal of Technology and
Innovation Management, no. 6 (2011): 147-160.
Stoltz, Paul G. and Erik Weihenmayer. (2010). Turning Everyday Struggles into Everyday
Greatness, The Adversity Advantage. New York: Simon and Schuster.
Stoltz, Paul G. (1997). Adversity Quotient Turning Obstacles into Opportunities Canada:
John Wiley and Sons.
Tidd, J. (2018). “Innovation management in context: environment, organization an
performance,” International Journal of Management Reviews, 3, 3 (2008): 169-183.
Tripathi, Susan, (2011). “Use of Adversity Quotient® (AQ®) in Creating Strong Business
Leaders of Tomorrow,” Doctor of Philosophy in Management Studies Mumbai.
Walsh, Froma. (2016). Strengthening Family Resilience. 2nd ed. New York:
The Guilford Press
Wheelen, Thomas L. and David J. Hunger. (2002). Strategic Management and Business
Policy 8th ed. New Jersey: Prentice-Hall.
กิตติศักดิ์ จินดากุล. (2562). “การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่า
อุปสรรคและความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงาน.” ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา
อุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชนิธตา เกตุอำไพ. (2559). “ปัจจัยบางประการกับการกำกับตนเองในการปรับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน
ช่วงชั้นที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร.” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิต
ทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชวน ภารังกูล. (2556). การศึกษาความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์. (2551). ชนะชีวิต คิดอย่างอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: ไทยยูเนี่ยนกราฟิกส์.
เนาวรัตน์ อิ่มใจ. (2562) “ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การสนับสนุนทางสังคมและความ
เหนื่อยหน่ายในการทำงาน.” ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2560). “องค์ประกอบการวางแผนกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่
ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.” รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ตามโครงการทุนอุดหนุ
การวิจัยของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรพรรณ ปฐมสุนทรชัย. (2651). “ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ความเหนื่อยหน่ายในการ
ทำงานและการรับรู้ความสามารถของตนเอง.” ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา
อุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วลัยทิพย์ ธีริศราวิชชากร. (2556) “โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค
ของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต.” วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, ปีที่ 7,
ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2555-มีนาคม 2556): 43-55.
ศิวิมล คํานวล. (2552). “ความสัมพันธ์ระหว่างการมองโลกในแง่ดีความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่า
อุปสรรคและความสุข กรณีศึกษาพนักงานบริษัทเอกชน.” ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึง
ประสงค์: ความสามารถในการการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค. กรุงเทพมหานคร: สกศ.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). “แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.”
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14, 2 (2555): 117-128.
องค์กร ประจันเขตต์. (2557). “องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ทางเลือกใหม่ของการบริหารการศึกษา.
วารสารพยาบาลทหารบก, 15, 1 (2557): 45-51.
อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). “การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.