แนวทางการผลิตครูระดับอุดมศึกษาแบบพลิกโฉม: จากงานวิจัยสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (A Transformative Approach to Empower Higher Education Instructors: From Research to Policy Recommendations)

ผู้แต่ง

  • จินตวีร์ คล้ายสังข์ (Jintavee Khlaisang)
  • ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย (Siriwan Vanichwatanavorachai)
  • ทรงชัย อักษรคิด (Songchai Ugsonkid)
  • ประกอบ กรณีกิจ (Prakob Koraneekij)

คำสำคัญ:

การผลิตครูแบบพลิกโฉม, อุดมศึกษา, ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการผลิตครูของครูหรืออาจารย์ระดับอุดมศึกษาแบบพลิกโฉมที่เน้นการปรับกระบวนการคิดเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของแนวคิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ที่มาถึงเร็วกว่าที่เราทุกคนคาดคิด อันสืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานเพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการผลิตครูระดับอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อได้แก่ (1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับกระบวนการผลิตครูของครู เพื่อให้การผลิตครูของครูเกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสมรรถนะวิชาชีพ สามารถตอบสนองความต้องการในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรและกระบวนการในการผลิตครูของครู ทั้งในส่วนของหลักสูตรการศึกษาในห้องเรียน นอกห้องเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการศึกษา เกณฑ์การประเมิน พฤติกรรมและสมรรถนะหลัก เพื่อให้ครูของครู มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ คุณธรรมจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และมีจิตวิญญาณของครูอย่างแท้จริง (3) นำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในทางนโยบายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการผลิตครูของครูให้เป็นไปตามหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และ (4) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานสำหรับเป็นข้อมูลสำหรับจัดทำเป็นข้อเสนอไปยังหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ (1) คณาจารย์ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่เป็นตัวแทนจาก 3 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยมหาวิทยาศิลปากร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ (2) คณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ดำเนินการวิจัย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ทบทวนกฎหมาย ระเบียบและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การศึกษารูปแบบการพัฒนาครูของครูของ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการศึกษาองค์ประกอบด้านหลักสูตรและเงื่อนไขของการเป็นผู้ที่สอนวิชาครู และรูปแบบการพัฒนาอาจารย์ใหม่ ขั้นที่ 3 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากที่ประชุมสภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะมาร่างแนวทางการพัฒนาครู ขั้นที่ 4 เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1, 2, และ 3 ขั้นที่ 5 การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาครูของครู อาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และข้อเสนอเชิงนโยบายเร่งด่วน ขั้นที่ 6 การรับรองรูปแบบและการรับรองข้อเสนอเชิงนโยบายจากที่ประชุมต่อไป ผลที่ได้ที่จากการประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการผลิตครูในระดับอุดมศึกษาและการประเมินรับรองรูปแบบการผลิตครูระดับอุดมศึกษา นำไปสู่ข้อสรุปดังต่อไปนี้ (1) รูปแบบการผลิตครูของครูแบบพลิกโฉม ประกอบด้วย การรายงานสภาพปัจจุบันและการรายงานภาพอนาคตโดยครูของครูต้องรับการพัฒนาชุดทักษะแห่งอนาคต (Future Skillset) ใน 3 มิติ ได้แก่ การออกแบบชีวิตสำหรับผู้เรียน การเปลี่ยนผู้เรียนเป็นนวัตกร, และการสร้างครูยุคใหม่ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงใหม่ (2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กลไก และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นด้านกลไกและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ประเด็นข้อเสนอแนะสำหรับสถาบันผลิตครูระดับอุดมศึกษา และประเด็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องข้อมูลมหัต (Big Data) ทางการศึกษาในทุกระดับ

References

Mohr, S. (2020). A New Decade for Faculty Professional Development. [Online]. Retrieved August 2, 2021, from https://onlinelearningconsortium.org/2020-a-new-decade-for-faculty-professional-development.
OECD. (2011). Teachers Matter: Attracting, Developing and Retaining Effective Teachers. Pointers for Policy Development.
Office of the Education Council. (2017). National Education Plan (2017-2036). Bangkok: Sweet Chili Graphic Co., Ltd.
Office of the Education Council. (2013). A Comprehensive System Analysis of Teacher Development Conditions and Teacher Development Guidelines for Learner Quality. . Bangkok: Sweet Chili Graphic Co., Ltd.
Pelletreau, K. N., Knight, J. K., Lemons, P. P., McCourt, J. S., Merrill, J. E., Nehm, R. H., Prevost,
L. B., Urban-Lurain, M., and Smith, M. K. (2018). “A Faculty Professional Development Model That Improves Student Learning, Encourages Active-Learning Instructional Practices, and Works for Faculty at Multiple Institutions”. CBE life Sciences Education 17(2): es5. [Online].Retrived February 1, from https://doi.org/10.1187/cbe.17-12-0260
Sahlberg, P. (2011). “The Professional Educator: Lessons from Finland”. American Educator, 34-38.
Siribunpitak, P. and et al. (2018). Developing a Mechanism to Drive the Production System and Develop High-performance Teachers for Thailand 4.0. Office of the Education Council. Ministry of Education. Bangkok: Sweet Chili Graphic Co., Ltd. (in Thai)
Sasiwuttiwar, S. (2016). Teacher Personnel System Reform Set Report: Suggestions for Creating and Selecting Good Teachers of the New Generation by Raising the Quality of Education. Project to Establish a Learning Systems Research Institute Thailand Development Research Institute. (in Thai)
Teachers’ Council of Thailand. (2018). Southeast Asia Teachers Competency Framework The National Institute of Education. [Online]. Retrieved August 2, 2021, from
https://www.criced.tsukuba.ac.jp/math/seameo/2019/pdf/SEA-TCF%20BOOK.pdf. (in Thai)
The National Institute of Education. (2010). A Teacher Education Model for the 21st Century (TE21). [Online]. Retrieved August 2, 2021. [Online]. Retrieved August 2, 2021. from https://www.nie.edu.sg/docs/default-source/te21_docs/te21_executive-summary_14052010---updated.pdf?sfvrsn=2.
UNESCO. (2016). Diverse Approaches to Developing and Implementing Competency-based ICT Training for Teachers: A Case Study. Vol. 1.

เผยแพร่แล้ว

2021-12-16

ฉบับ

บท

บทความวิจัยพิเศษ