การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ยุทธวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทและแผนภูมิความหมายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (The Development of the Reading Comprehension Instructional Model through Reciprocal Teaching and Semantic Mapping Strategies to Enhance Reading Abilities of Undergraduate Students)
คำสำคัญ:
The Development/ Reciprocal teaching/ Semantic Mapping Strategy/ Readingบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ยุทธวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทและแผนภูมิความหมายเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบสอนการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ยุทธวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทและแผนภูมิความหมายโดย 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อ
ความเข้าใจก่อนและหลังเรียนและ 2.2) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี จำนวน 30 คน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้มีแผนการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถามความพึงพอใจการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบที ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานวิธี ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบ PMPC Model ที่พัฒนาขึ้นผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินว่าดีมาก 2) ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1) คะแนนเฉลี่ยความเข้าใจการอ่านโดยใช้รูปแบบของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.2) ผู้เรียนพอใจมากหลังเรียนและมีผลทำให้ผู้อ่านเป็นผู้อ่านอิสระได้
Abstract
This study is aimed to investigate 1) development of the Reading Comprehension Instructional Model through Reciprocal Teaching and Semantic Mapping Strategies to Enhance Reading Abilities of students of undergraduate students. 2) to evaluate the effectiveness of the Reading Comprehension instructional model by 2.1) the reflection of students while learning reading comprehension with the Reciprocal Teaching strategy plus the Semantic mapping strategies; 2.2) the students’ satisfaction with the Reciprocal reading strategies plus the Semantic mapping strategies via survey. The subjects were a group of 30 students in the first year major Business English students of Suratthani Rajabat University, during the first academic year 2014. The instruments used for this study were lessons plans, interviews, a pre-post reading comprehension test and a set of questionnaires for investigating their satisfaction with the reading lessons. The data were analyzed by t-test; percentage, mean and standard deviation. Mixed methods research was employed. The results of the study reveal that : 1) the developed model was rated at a very good level by five experts. The Model called PMPC Model. The lessons were efficient at an accepted level. 2) The effectiveness of the PMPC Model indicated that 2.1) the average score of students’ reading comprehension after using the model was higher than the average score before using the model and the average score were significantly different at .05 level 2.2) the students’ satisfaction towards the PMPC MODEL was highly positive and they can be the independent readers.