กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา (The Paradigm of Community Based Learning for Enhancing Critical Thinking and Creative Problem Solving Abilities for Elementary School Students)

ผู้แต่ง

  • ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ (Sriwan Chutsuriyawong) Silpakorn University
  • มาเรียม นิลพันธุ์ (Maream Nillapun)

คำสำคัญ:

กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ Paradigm of Community Based Learning/ Critical Thinking / Creative Problem Solving

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพกระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์  สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  ประเด็นการสนทนากลุ่ม  คู่มือการใช้กระบวนทัศน์  หน่วยการเรียนรู้  แบบทดสอบ  และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัย พบว่า  กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์   สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา มีชื่อว่า “CLTE”  มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ 4 ด้านที่ต้องคำนึงถึงประกอบด้วย 1.ชุมชน (Community based) 2.การจัดการเรียนรู้ (Learning) 3.เทคโนโลยี (Technology) แล 4. การประเมินผล (Evaluation)  กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1) หลักการเป็นการเรียนรู้บนฐานของชุมชน  โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 ด้าน CLTE ได้แก่  ชุมชน  การจัดการเรียนรู้  เทคโนโลยี และการประเมินผล โดยจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอน PSRA  Model ซึ่งผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติจริงและแก้ปัญหาที่พบในชุมชนด้วยการเรียนรู้ที่หลากหลายและได้ชิ้นงานที่สร้างสรรค์  2)วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา  3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้  PSRA Model  ประกอบด้วย (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparing = P )  (2) ขั้นกลยุทธ์การเรียนรู้ (Strategies = S)  (3) ขั้นสู่ผลสะท้อนคิด (Reflection : R)  (4) ขั้นประเมินประสิทธิผล (Assessing = A ) 4) การวัดและประเมินผล ประเมินภาพรวมของกระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จากการสะท้อนคิดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย  และ 5) เงื่อนไขในการนำกระบวนทัศน์ไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ  ดังนี้ (1) ชุมชนให้การส่งเสริม  สนับสนุนและมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน (2) ผู้เรียนลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลด้วยตนเอง  ฝึกการคิดและการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงที่พบในชุมชน และ (3) การยึดหยุ่นเวลาในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมนอกห้องเรียนโดย  พบว่า  กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.20/83.50

 

* นักศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร

ที่ทำงาน: โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม  โทร 088- 6079798 e-mail:sriwan908@hotmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. มาเรียม นิลพันธุ์ , รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่,                        อาจารย์  ดร.ประเสริฐ  มงคล

 

Abstract

The purposes of this research were to  develop and determine the efficiency of paradigm of community based leaning  for enhancing  critical  thinking  and  creative  problem  solving  abilities  for  elementary  school  students. Research instruments consisted of the paradigm of community based leaning model, a handbook, learning units, assessment forms, and a questionnaire.  The data was analyzed by a content analysis and a focus group. 

The research finding was that the paradigm of community based learning for enhancing  critical  thinking  and  creative  problem  solving  abilities  for  elementary  school  students called “CLTE Model” consisted of four aspects; community based, learning, technology, and evaluation. The paradigm of community based learning had 5 elements; (1) principle of community based learning which focusing on 4 aspects (Community based, Learning, Technology, and Evaluation) and learning management focused on the process of PSRA Model which students could practice from the situations found in the community and made their creative tasks, (2) objectives which enhancing  critical  thinking  and  creative  problem  solving  abilities  for  elementary  school  students, (3) learning  process of PSRA Model which had four  steps (P= Preparing, S = Strategies, R = Reflection, and A = Assessing), (4) evaluation on the paradigm of community based learning using reflection of participants; and (5) conditions in order to use the CLTE successfully  focusing on; 1) promotion and cooperation of community in every step, 2) collecting data in community and practicing the critical  thinking  and  problem  solving  abilities by students, and 3) having properly flexible time for studying and doing extra class activities. The efficiency of this model was 82.20/83.50.

Author Biography

ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ (Sriwan Chutsuriyawong), Silpakorn University

Teacher  at  Ban Plongliam school

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2016-06-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย