การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทไทย: ด้านการดูแลสุขภาพจิต (Development of Holistic Creative Learning Skills for Older Persons in Rural Area of Thailand: Mental Health Care Dimension)

ผู้แต่ง

  • นวลฉวี ประเสริฐสุข (Nuanchavee Prasertsuk)
  • อุรปรีย์ เกิดในมงคล (Urapee Kerdnaimongkol)
  • กันยารัตน์ สอาดเย็น Kanyarat Sa-artyen

คำสำคัญ:

ทักษะการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทไทยด้านการดูแลสุขภาพจิต มีการดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากผู้สูงอายุตำบลดอนชมพู อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน และผู้สูงอายุ ตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสรุปเอกสารงานวิจัย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ประเด็นการสนทนากลุ่มย่อย แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ (T-GMHA) และแบบประเมินกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทไทยด้านการดูแลสุขภาพจิต มีลักษณะดังนี้

  1. ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ แกนนำ ผู้เรียน ผู้สอน สาระการเรียนรู้ และเครือข่าย

      2. กระบวนการ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีลักษณะ ดังนี้ มีความเหมาะสมกับบริบทและสภาพแวดล้อมของชุมชน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีโครงสร้างการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เป็นการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการพูดคุย เป็นการเรียนรู้ตามวิถีชีวิต เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  และเป็นการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

      3.  ผลลัพธ์ เป็นผลที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ด้านการดูแลสุขภาพจิตที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการดูแลสุขภาพกาย อาชีพ และวัฒนธรรม กิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ การมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วมของเครือข่าย และความยั่งยืนของกิจกรรมการเรียนรู้

Author Biography

นวลฉวี ประเสริฐสุข (Nuanchavee Prasertsuk)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เผยแพร่แล้ว

2017-02-16

ฉบับ

บท

บทความวิจัย