ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ (The Influential Factors of Alcoholic Beverages Consumption Behaviors of Undergraduate Students of Silpakorn University, Sanam Chandra Palace Campus)
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภค/เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์3)เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ระดับของปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับของปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การวิเคราะห์พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ พบว่า ชนิดของเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเป็นประจำส่วนใหญ่ที่นักศึกษาดื่มคือ เบียร์ ความถี่ในการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ของนักศึกษาส่วนใหญ่คือ เฉพาะเทศกาล/โอกาสพิเศษวัตถุประสงค์ในการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ของนักศึกษาส่วนใหญ่คือ สังสรรค์กับเพื่อนค่าใช้จ่ายในการดื่มโดยเฉลี่ย/ครั้งของนักศึกษาคือ 101-300 บาท สถานที่ในการดื่มโดยส่วนใหญ่ของนักศึกษาคือร้านเหล้า/สถานบันเทิงและผู้ที่นักศึกษาดื่มด้วยโดยส่วนใหญ่คือเพื่อน3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อชนิดของเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเป็นประจำ 2 ปัจจัย คือ รายได้/เดือน และสถานภาพการสมรสของบิดามารดา ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อความถี่ในการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเป็นประจำ มี 3 ปัจจัย คือ เพศ รายได้/เดือน และสถานภาพการสมรสของบิดามารดา ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อวัตถุประสงค์ในการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มี 2 ปัจจัย คือ รายได้/เดือน และสถานภาพการสมรสของบิดามารดา ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อค่าใช้จ่ายในการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มี 3 ปัจจัย คือ เพศ รายได้/เดือน และสถานภาพการสมรสของบิดามารดา ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อสถานที่ในการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ มี 3 ปัจจัย คือ เพศ รายได้/เดือน และสถานภาพการสมรสของบิดามารดา ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มี3ปัจจัยคือเพศ รายได้/เดือน และสถานภาพการสมรสของบิดามารดา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสนับสนุนกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ พบว่า ปัจจัยสนับสนุนที่มีความสัมพันธ์ต่อชนิดของเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่ดื่มมี 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยสนับสนุนด้านการควบคุมตนเอง ปัจจัยสนับสนุนด้านการสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยสนับสนุนด้านสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ปัจจัยสนับสนุนด้านการรับรู้โทษ และปัจจัยสนับสนุนด้านแรงจูงใจ