ผลของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ รายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (The Effect Of Inquiry Cycles Learning On Programming Language For Mathayom Suksa 3 Students)

ผู้แต่ง

  • ณราวุฒิ ช่างทุ่งใหญ่ (Narawut Changtungyai)
  • ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี (Sirirat Persangsri)
  • กฤษณา คิดดี (Krissana Kiddee)

คำสำคัญ:

Inquiry Cycles Learning / Programming languages

บทคัดย่อ

- ผลของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้รายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 / The Effect Of Inquiry Cycles Learning On Programming LanguageFor Mathayom Suksa 3 Students.

- บทคัดย่อ 

ผลของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ รายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ให้มีคุณภาพ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษา คอมพิวเตอร์ ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ กับนักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม จังหวัดนครปฐม จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 79 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากและได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ มีจำนวน 39 คน และกลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ  แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test for Independent samples

ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ รายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพในระดับดีมาก ( = 4.59) 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ รายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 88.66/86.06 ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ 80/80 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ รายวิชา การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

- Abstract 

The results of inquiry cycle learning on programming languages for mattayom suksa 3 was designed and developed for using as a form of instruction that used inquiry learning cycle. This instruction was useful for higher-order thinking. The purposes of this research were, 1) to develop the quality of inquiry learning cycle learning lesson plan; 2) to study the efficiency of inquiry cycle learning lesson plan. Not less than 80/80 percent; 3) to compare the learning achievement of programming language by students who learned under inquiry cycle learning lesson plan with traditional lesson plan. The sample consisted of 79 Mattayom Suksa 3 students in two classrooms at Wathuaychorake Witthayakhom School, obtained by cluster random sampling. They were divided into two groups by drawing lots. Group 1 was the sample for study the achievement of inquiry learning cycle consisted of 39. And group 2 was the sample for study the achievement of traditional instruction consisted of 40.

Instruments of research consisted of inquiry learning cycle learning lesson plan, traditional lesson plan, lesson plan evaluation and achievement test. The data were statistically analyzed by means, standard deviations and t-test for dependent samples.

The results of this research found that: 1) The quality of inquiry learning cycle learning lesson plan on programming language was in a good level (=4.59). 2) The efficiency (E1/E2) of inquiry learning cycle learning lesson plan on programming language was found to be efficient at 88.66/86.06 percent. And 3) Learning achievement of students who learned under inquiry cycle learning on programming language had learning outcome higher than students who learned with traditional lesson plan at 0.5 level.

Author Biography

ณราวุฒิ ช่างทุ่งใหญ่ (Narawut Changtungyai)

คศ1

เผยแพร่แล้ว

2017-01-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย