สมรรถนะวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 (Administrators’ Professional Competency Affecting Academic Administration of Educational Institutions under the Jurisdiction of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2)
คำสำคัญ:
Administrator’s Professional Competency, Academic Administration, Primary Educationบทคัดย่อ
สมรรถนะวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
Administrators’ Professional Competency Affecting Academic Administration of Educational Institutions under The Jurisdiction of Nakhon Pathom Primary Educational
Service Area Office 2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 3) สมรรถนะวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 302 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้น โดยผู้วิจัยการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณ กิจการและกิจกรรมนักเรียน การพัฒนาวิชาชีพ หลักสูตรการสอน การวัดและ การประเมินผลการเรียนรู้ การประกันคุณภาพการศึกษา ความเป็นผู้นำทางวิชาการ และการบริหารสถานศึกษา ตามลำดับ 2) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและ รายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน
การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการนิเทศการศึกษา ตามลำดับ และ 3) สมรรถนะวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษา หลักสูตร การสอน การวัดและ การประเมินผลการเรียนรู้ กิจการและกิจกรรมนักเรียน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 68.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ: สมรรถนะวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา/ การบริหารงานวิชาการ/ ประถมศึกษา
Abstract
This research aimed to study: 1) level of administrators’ professional competency; 2) level of academic administration in educational institutions; and 3) administrators’ professional competency affecting academic administration of educational institutions. The research sample, derived by proportional stratified random sampling distributed by district, was 302 teachers of educational institutions under the jurisdiction of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The findings of this research were as follows: 1) Overall and in specific aspects, administrators’ professional competency was at a high level. The aspects, ranked from the highest to the lowest, were morality, ethics and professional code; student affairs and activities; professional development; curriculum, instruction, measurement and evaluation of learning achievement; education quality assurance; academic leadership and educational institution management. 2) Overall and in specific aspects, academic administration in educational institutions was at a high level. The aspects, ranked from the highest to the lowest, were development of internal education quality assurance and educational standards; curriculum development; measurement, evaluation and credit transfer; development and use of educational technology; and educational supervision. 3) Administrators’ professional competency in the aspects of education quality assurance; curriculum, instruction, measurement and evaluation of learning achievement; student affairs and activities together predicted academic administration of educational institutions at the percentage of 68.80 with statistical significance at .01.
Keywords: Administrator’s Professional Competency, Academic Administration, Primary Education