การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ (A Participatory Action Research in Conserving and Passing on Thai Songdam’s Cloth Wearing Wisdom)

ผู้แต่ง

  • เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล (Uamporn Topanurakkun)
  • ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม (Chaiyos Paiwithayasiritham)

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม/ การอนุรักษ์/การสืบทอด/ภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ A Participatory Action Research / Conserving / Passing /The Weaving Wisdom of “ Thai Shong Dam”

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ

A Participatory Action Research in Conserving and Passing on Thai Songdam’s Cloth

Weaving Wisdom

บทคัดย่อ              

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของผ้าทอไทยทรงดำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (2) เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอ             ไทยทรงดำ (3) เพื่อศึกษาแนวทางอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ  วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ไทยทรงดำและผ้าทอไทยทรงดำ การวิเคราะห์และสังเคราะห์บทบาทแนวทางการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ  ขั้นที่ 2  การวิจัย  เชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำและขั้นที่ 3 การนำเสนอแนวทางในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำ ผลการวิจัย พบว่า

           กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาผ้าทอไทยทรงดำทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนโครงการ กิจกรรมต่างๆ และอาศัยความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีแนวทางดังนี้ 1) การสร้างองค์ความรู้                2) การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และศูนย์เรียนรู้ 3) ปราชญ์ชาวบ้าน  4) กระบวนการสืบทอดและหลักสูตร   5) กิจกรรมงานประเพณี  6) การสร้างเครือข่าย 7) การจัดตั้งกลุ่มทอผ้า 8) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และมียุทธศาสตร์การสร้างแนวทางเชิงพื้นที่ ดังนี้ 1) การระดมความร่วมมือ 2) การกระตุ้นผู้นำ              3) การสร้างแรงจูงใจในการสืบทอด ปัจจัยและเงื่อนไขสู่ความสำเร็จคือปัจจัยภายในประกอบด้วย                   1) สำนึกทางชาติพันธุ์ 2) ทุนทางวัฒนธรรม 3) สมาชิกในชุมชน  4) ผู้นำชุมชน และปัจจัยภายนอกประกอบด้วย 1) ภาครัฐ  2) ภาคเอกชน 3) ภาควิชาการ

 

Abstract

The objective of this research are:(1) to investigate the circumstances of his woven of the

Thai Shong Dam  from the past to the present.(2) to study the best practices in conservation and to relay the wisdom woven of the Thai Shong Dam. (3) to study and to conservation of Thailand’s wisdom woven of the Thai Shong Dam. There are3 Research Methodologies, Step1Study of the forecast and the wisdom woven of the Thai Shong Dam. Step 2 Analysis and Synthesis the role of the conservation practices and wisdom wovenof the Thai Shong Dam.Step 3 Proposalof the Guidelines for the Conservation and wisdom wovenof the Thai Shong Dam.   

               The Participatory Action Research in Conservation and inherited wisdom of the Thai Shong Dam.The community, awareness and participation in the preparation of project plans and activities with the cooperation of the organization and local agencies. The guidelines are as follows: 1)The creation of knowledge 2) Participation 3) The succession process 4) Events and Festival 5) The establishment of a museum  6) The establishment of a textile group 7) Partners 8) Communications And generate spatial strategy are as follows: 1) The Rally 2) the stimulation lead 3) motivation for succession . Factors and criteria for success are 1) the realization of ethnic 2) cultural capital ,3) leadership, 4) government plans 5) Budget 6) partners.

 

เผยแพร่แล้ว

2017-01-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย