การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา (Development of an Instructional Model to Enhance Concepts and Mathematical Processes for Elementary Students)

ผู้แต่ง

  • ปพนวัจน์ ลภัสภิญโญโชค (Paphonwat Laphatpinyochok)
  • มาเรียม นิลพันธุ์ (Maream Nillapun)

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา   มีวัตถุประสงค์การวิจัย  ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน   2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน  3) เพื่อขยายผลรูปแบบการเรียนการสอน  ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการเรียนการสอน มีชื่อว่า “ 5P  Model ” ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน  การวัดและปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนการสอนมี 5 ขั้น คือ 1)ขั้นเตรียมความพร้อม  (Preparing : P)  2) ขั้นมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการเรียน: (Participating : P )  3) ขั้นทบทวนมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น (Processing :P)  4)ขั้นนำเสนอ มโนทัศน์ใหม่  (Presenting : P)  และ 5)ขั้นฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญ (Practicing : P)  ประสิทธิภาพ ของรูปแบบคือ  83.03 / 81.33 (2) หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนมีมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถด้านมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับต่ำกว่าเกณฑ์เป็นระดับดีเยี่ยม (3)  ผลการขยายผล พบว่า หลังการเรียนการสอน นักเรียนมีมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถด้านมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับต่ำกว่าเกณฑ์เป็นระดับดีเยี่ยม

เผยแพร่แล้ว

2017-01-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย