เรื่องเล่าจากการวิจัย : ชุดโครงการ การยกระดับคุณภาพการศึกษา และสร้างสรรค์การเรียนรู้ในภูมิภาคตะวันตก (Narrative Approach form Research : Improving Education Quality and Learning Creation in the Western Region)

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ สังข์รักษา (Narin Sangraksa)

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและ
สร้างสรรค์การเรียนรู้ของสถานศึกษา มหาวิทยาลัยและศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยตำบล 2) หาข้อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้
กลุ่มเป้าหมายเป็น อาจารย์นิเทศและอาจารย์พี่เลี้ยง นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร ครู นักเรียนใน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา และเทศบาล สังกัดกรม
ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และครูและผู้เรียนในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตาม
อัธยาศัยตำบลของภูมิภาคตะวันตก เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การ
วิเคราะห์ข้อมูลใช้การสังเคราะห์โครงการย่อยทั้ง 6 โครงการและประชุมข้อเสนอสัมมนา (Seminar
Forum) ผลการวิจัย พบว่า
ก. รูปแบบในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้ได้แก่ 1) รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ในภูมิภาค
ตะวันตก (WEST(L)EARN Model) ประกอบด้วย องค์ประกอบทักษะด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร และทักษะความพร้อมทางอาชีพ
2) การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ
ครู ประกอบด้วย (1) การปรับเปลี่ยนสถานศึกษา (2)การตระเตรียมสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ (3) การพัฒนา
ครูมืออาชีพ และ (4) การนิเทศติดตามอย่างสร้างสรรค  3) รูปแบบนวัตกรรมที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อ
พัฒนาวิชาชีพของครูเรียกว่า PD3CE Model ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 รับรู้ (Perceive) ขั้นที่ 2 พัฒนา
(Develop) ขั้นที่ 3 ออกแบบ (Design) ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรม (Do) ขั้นที่ 5 วิพากษ์วิจารณ์สะท้อนคิด
(Criticize) และขั้นที่ 6 ประเมินผล (Evaluate) 4) การสร้างเสริมศักยภาพอาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์เลี้ยงเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเป็นพี่เลี้ยงวิชาการ เรียกว่า 4 Ps Model ประกอบด้วย การปฐมนิเทศ และเตรียมความพร้อม การวางแผน การปฏิบัติตามบทบาทของพี่เลี้ยงทางวิชาการ และ การประเมินความก้าวหน้า 5) รูปแบบการเสริมพลังให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องจากงานประจำสู่การวิจัยใน ชั้นเรียน เรียกว่า “EDU-WESTERN Model” 6) รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของครู กศน.ตำบลเรียกว่า “รูปแบบพื้นที่ว่างแห่งการเรียนรู้” (SPACE OF Learning Model) ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ 3 ปัจจัยความสำเร็จ และ 4 ขั้นตอนการดำเนินการ ข. แนวทางการพัฒนาการศึกษา ประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายและหลักสูตรมีการบูรณาการการสอดคล้องกับชีวิตจริง มีการบริหารจัดการเรียนการสอน สถาบันการศึกษาสนับสนุนให้ครูทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหา พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครูมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมภาคีเครือข่าย ครูมีไฟในตัว เติมเต็มทักษะความรู้ทุกด้าน ผู้เรียนหาความรู้ผ่าน ICT มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จูงใจและให้รางวัลแก่ผู้เรียน มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงให้กับสถานศึกษา รวมถึงให้ผู้บริหาร ครูและผู้เรียนออกแบบการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกันตามกิจกรรมและอัตลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ

เผยแพร่แล้ว

2016-06-16

ฉบับ

บท

บทความวิชาการพิเศษ