บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาทีมงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี (The Role of Executive to Team Development of The Child Development Center under The Local Administrative Organizations in Ratchaburi)

Main Article Content

ธรรมรัตน์ มณฑาทิพย์ (Thamrat Montartip)
ดวงใจ ชนะสิทธิ์ (Duangjai Chanasit)

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาทีมงาน                2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาทีมงาน จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ขนาด           ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และหน่วยงานต้นสังกัด 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทีมงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 226 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ และผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้อำนวยการกองการศึกษาและนักวิชาการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาทีมงาน ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 5 ลำดับ คือ การสร้างความร่วมมือ การสื่อสาร การเป็นผู้นำ การสร้างความไว้วางใจ การติดตามผล และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง  2) การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาทีมงาน พบว่าเมื่อจำแนกตามเพศในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตำแหน่งหน้าที่ในภาพรวมไม่แตกต่าง ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หน่วยงานต้นสังกัด ทั้งภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาทีมงาน พบว่าผู้บริหารควรประชุมเพื่อติดตามผลงานและเมื่อเกิดความขัดแย้งผู้บริหารต้องรับฟังปัญหาเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข


Abstract


The purposes of this research were : 1)  study the executive’ role level in the development of teamwork . 2)  compare the executive’ role in the development of teamwork classified by personal status, size of the child development center and organization affiliations and 3) study the approach to the development of teamwork. There are of the research sample questionnaire respondent are the executive of local administrative organizations, the heads of the child development center, child care teachers and child care assistants teachers of 226  and Interview respondent who are 9 directors of  Division of Education and educational technical offices derived. The research instruments were a questionnaire and intervie. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance. Content analysis was used to analyze data for the interview. The results revealed as follows. 1. The executive’ role level in the development of teamwork were at high lever in overall. When cconsider in aspects, it was found that the value of each aspect was ranged in descending order as follows: collaboration, communication, lleadership, building trust, follow-up and conflict resolution. 2. The comparison of the role of executive’ role in the teamwork development when classified by gender, found that overall were differences with statistical significant at .05 level. For position no different in overview when considering each aspect, found that there were differences statistically significant at 05 level. For age, education, work experience, size of child development center, and original affiliations authorities no different in overview. 3. The executive should hold meetings tracing the work practices resolution and when conflict management must listen to the problems.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ธรรมรัตน์ มณฑาทิพย์ (Thamrat Montartip)

นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลเบิกไพร