การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเรื่องการร้อยลูกปัดวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ) (The Development of Instructional Package by Using an Instructional Model Based on Simson’s Process for Psycho-Moter Skill Development on the Topic of Threading Bead in Career and Technology Subject for the Fifth Grade Wat Angkaew (Jeeb Pankam) School)

Main Article Content

กฤตมุข ไชยศิริ (Krittamook Chaisiri)
น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ (Nammon Ruangrit)

Abstract

การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเรื่องการร้อยลูกปัด        วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)/The Development of Instructional Package by Using an Instructional Model Based on Simson’s Process  for Psycho-Moter Skill Development on The Topic of Threading  Bead in Careerand Technology  Subject for The Fifth Grade Watangkaew (Jeeb Pankam) School.


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการประดิษฐ์ชิ้นงานด้วยชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเรื่องการร้อยลูกปัด 2) เพื่อพัฒนาชุดการสอนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยชุดการสอน  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ) ปีการศึกษา 2559 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน จำนวน30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) ชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเรื่องการร้อยลูกปัด 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานร้อยลูกปัด 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพของชุดการสอน (E1/E2) และค่าที (T-test) แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประดิษฐ์ชิ้นงานของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันเรื่องการร้อยลูกปัดพบว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะการปฏิบัติงานเฉลี่ย () เท่ากับ 3.80 อยู่ในระดับดีมาก 2. ผลการพัฒนาชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 95.03/81.33 ตามเกณฑ์ 80/80 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดการสอนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (= 2.59, S.D.= 0.49)


คำสำคัญ:ชุดการสอน / ทักษะปฎิบัติของซิมพ์ซัน / การร้อยลูกปัด


Abstract


The purposes of this research were 1) to study the performance working skill after using an Instructional Packages, 2) to develop Instructional Packages by using an Instruction Model Based on Simpson’s Process for Psycho-Moter skill development on the topic of Threading Beads with the sufficient standard criterion of 80/80, 3) to study the achievement from Instructional Packages, 4) to study the students’ satisfaction towards the developed Instructional Packages. The samples were 30 grade 5 students of Watangkaew (Jeep Pankam) school of 2016 academic year. They were selected by using cluster sampling technique. The instruments consisted of 1) a structured interview form 2) Lesson plans 3) an Instructional Packages 4) an achievement learning test 5) Threading Beads Competency Assessment form and 6) a students’ satisfaction questionnaire. Statistics used for analyzing data were: mean (), standard deviation (S.D.), the efficiency of the Instructional Package was analyzed by means of E1/E2 and t-test dependent. The results of the study were as the following: 1. The students’ mean score of the performance working skill after the Instructional Packages was 3.80at a good level, 2. The efficiency of the Instructional Packages had efficacies (E1/E2) of 95.03/89.33 According to the criteria of 80/80, 3. the scores of post-test higher than pre-test was statistically significant at .01level and 4. The students’ satisfaction toward the Instructional Packages was at a high level. (=2.59; S.D.=0.49)


 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

กฤตมุข ไชยศิริ (Krittamook Chaisiri)

ครูรับเงินเดือนอันดับ คศ.1 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)

น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ (Nammon Ruangrit)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร