การพัฒนารูปแบบความรับผิดชอบต่อสาธารณะในการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับ (Development of Accountability Model for Mathematics Compulsory Education)

ผู้แต่ง

  • นพดล ทุมเชื้อ (Noppadol Thumchuea)
  • วิภารัตน์ แสงจันทร์ (Wiparat Sangjun)

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ, การศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับ, Accountability, Mathematics, Compulsory Education

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบความรับผิดชอบต่อสาธารณะในการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับ

Development of Accountability Model for Mathematics Compulsory Education

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับ       2) พัฒนารูปแบบความรับผิดชอบต่อสาธารณะในการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับ และ            3) ประเมินผลรูปแบบความรับผิดชอบต่อสาธารณะในการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับเพื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบความรับผิดชอบต่อสาธารณะในการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับ และนำไปสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ รูปแบบความรับผิดชอบการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับที่พัฒนา ขึ้นเป็นสายความรับผิดชอบของหน่วยงานในการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ภาคบังคับ 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านผลิตและพัฒนาครู และด้านการวัดประเมินผล ผลการสอบถามผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เห็นด้วยต่อหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ และให้ข้อเสนอแนะในการแสดงความรับผิดชอบถ้าปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามความรับผิดชอบ โดยการทบทวนภารกิจหน้าที่ด้วยการประเมินด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินการและสุดท้ายผู้บริหารลาออกให้ผู้อื่นทำหน้าที่แทน

 

Abstract

This research aims to 1) study problems in mathematics compulsory education; 2) develop the accountability model for mathematics compulsory education; and 3) evaluate the accountability model for the developed mathematics compulsory education by studying  the problem of mathematics compulsory education to synthesize data into a form of accountability model for mathematics compulsory education and ask the opinions of experts  and those who involved in the mathematics compulsory education about the synthesized form. The results are as follows: the accountability model for mathematics compulsory education was responsible by the organizations in the mathematics compulsory education for 5 aspects. Management, Curriculum, Learning management, Production and development of teachers, The result of investigating the opinions of expert and those who involved revealed that they were agreed on the responsibilities of the various organizations and also provided suggestions  on showing responsibility if they could not perform in accordance with the main responsibilities. These could be done by reviewing the mission, evaluating with effective tools to improve performance, and ultimately, the administrators may resign and ask others to work instead.

เผยแพร่แล้ว

2019-02-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย