ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ด้วยการบูรณาการ การเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่าน Google Classroom

Main Article Content

สุวดี สารแสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า  ผ่าน Google Classroom  เทียบกับเกณฑ์เป้าหมายของโรงเรียนที่กำหนดไว้ ร้อยละ  70  ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์  ร้อยละ  75  ของนักเรียนทั้งหมด และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน(Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า  ผ่าน Google Classroom  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/12  ภาคเรียนที่ 2      ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนกัลยาณวัตรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น จำนวน  34  คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า  ผ่าน Google Classroom 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางของนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ   สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย  ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีนักเรียนจำนวน  33  คน คิดเป็นร้อยละ 97.06 จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด  34 คน  มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป  2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน  (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ไฟฟ้า ผ่าน Google Classroom อยู่ในระดับมากขึ้นไปร้อยละ 100

Article Details

บท
Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ(2562).แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:บริษัท ๒๑ เซ็นจูรี่ จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย .

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนกัลยาณวัตร. (2553). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนกัลยาณวัตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุง 2560).ขอนแก่น: [ม.ป.พ.].

กิ่งกาญจน์ สิรสุคนธ์. 2550. รูบิคส์การให้คะแนน.กรุงเทพฯ: ส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

จิราภรณ์ ศิริทวี. (2542). โครงงานทางเลือกใหม่ของการสร้างปัญญาชน.วารสารวิชาการ 2(8) : 35-37

จริยา เสถบุตร. (2525). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา.ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ตระการตา พิสุทธิ์ไพศาล. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคอีสานตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

กิ่งกาญจน์ สิรสุคนธ์. 2550. รูบิคส์การให้คะแนน.กรุงเทพฯ: ส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

เชิญตะวัน สุวรรณพานิช. 2556. ห้องเรียนกลับด้านขานรับความคิดใหม่.สืบค้นเมื่อวันที่3กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://www.taamkru.com/th.

ปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์ และ ณมน จีรังสุวรรณ. 2558. การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้กิจกรรม WebQuest เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการครุ ศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ยืน ภู่วรวรรณ และ สมชาย นำประเสริฐชัย.2546. ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สุรศักดิ์ ปาเฮ.2556. ห้องเรียนกลับทาง: ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 จาก http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped%20classroom2.pdf

Jonathan, B. and Aaron, S. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. Washington, DC : International Society for Technology in Education.

Suanse, K. ., & Yuenyong, C. (2023). Enhancing Grade 10 Students’ Problem Solving Ability in Basic Knowledge on Analytical Geometry Flipped Classroom. Asia Research Network Journal of Education, 3(1), 13–24. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/arnje/article/view/264864